สวัสดีเสมอ


Canns
สิงหาคม 25, 2008, 11:04 pm
Filed under: Uncategorized

WorldFilm Festival of Bangkok 2007

Oct-Nov, 2007

ผีเสื้อและดอกไม้

Jay Chou

Zhang Yi Mou



นาฬิกา
สิงหาคม 25, 2008, 11:03 pm
Filed under: Uncategorized



ก้าวไกลวิสัยทัศน์ : ความบกพร่องในการแบ่งปันความรู้
สิงหาคม 25, 2008, 11:03 pm
Filed under: Uncategorized

ทัศนะวิจารณ์

ดร.บวร ปภัสราทร
26 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 07:00:00
ก้าวไกลวิสัยทัศน์ : ความบกพร่องในการแบ่งปันความรู้

ตามปกติแล้วเวลาที่ผู้คนจะบอกกล่าวเรื่องราวต่าง ๆ ระหว่างกัน ต้องตกลงกันในเรื่องสำคัญสามประการด้วยกันคือ ประการแรก จะบอกกล่าวกันผ่านช่องทางใด

กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ : ถ้าอยู่ใกล้ ๆ กันก็ใช้เสียงพูดคุยบอกกล่าวกันได้โดยตรง  ถ้าอยู่ไกลกันก็ใช้รูปภาพที่ต่างฝ่ายต่างมองเห็นเป็นช่องทางในการบอกกล่าวเรื่องต่าง ๆ ให้ได้ทราบทั่วกัน  ถ้าอยู่ไกลกันมาก ๆ ก็ต้องตกลงกันก่อนว่าจะใช้ระบบโทรคมนาคมใดเป็นช่องทางในการบอกกล่าวระหว่างกัน 

เมื่อตกลงกันในเรื่องช่องทางที่จะใช้ได้แล้วก็ต้องมาตกลงกันในเรื่องของภาษาที่จะใช้บอกกล่าวระหว่างกัน  ถ้าเป็นคนในบ้านเมืองเดียวกันที่พูดจาภาษาเดียวกันก็ตกลงกันได้เกือบจะทันที  ถ้าอยู่ในเมืองไทย จะบอกกล่าวอะไรกันก็ต้องใช้ภาษาไทย  หากเป็นการบอกกล่าวในวงการที่เป็นสากลที่มีมากมายหลายภาษา  ก็ต้องมาตกลงกันดูว่าจะใช้ภาษาอะไรในการพูดจาระหว่างกัน  ซึ่งคราวนี้จะมีการถกเถียงกันมากกว่าเรื่องแรก ใครเก่งภาษาใดก็เชียร์ให้ใช้ภาษานั้น  บางครั้งเลยกลายเป็นใครพวกมากกว่าก็ถือว่าให้ใช้ภาษาของพวกนั้น 

ถ้าไม่มีการตกลงกันไว้ก่อนในเรื่องภาษาที่จะใช้บอกกล่าวกันแล้วคงไม่แตกต่างไปจากการดูภาพยนตร์ที่พูดภาษาต่างชาติ  โดยไม่มีคำบรรยายภาษาไทย  ดูไปก็ต้องเดากันไปว่าพระเอกจะทำอะไร ผู้ร้ายจะตอบโต้อย่างไร  แต่ถ้าตกลงกันในเรื่องภาษากลางที่จะใช้ระหว่างกันไม่ได้ ก็ต้องหันไปใช้คนกลางมาทำหน้าที่เป็นล่ามแปลภาษาให้ต่างฝ่ายต่างเข้าใจ

ตกลงกันในเรื่องของสื่อกลางและภาษาที่จะใช้ได้แล้วก็ตามมาด้วยการตกลงกันว่า  สาระที่จะบอกกล่าวกันนั้นเกี่ยวข้องกับเรื่องใด  อยู่ในประเด็นใด บางครั้งอาจเคยเห็นผู้คนพูดจาภาษาเดียวกัน  แต่บอกกล่าวกันไม่รู้เรื่อง  คนบอกต้องการที่จะให้เกิดความเข้าใจในเรื่องหนึ่งแต่คนฟังกลับเข้าใจไปเป็นอีกเรื่องหนึ่ง  ทั้งนี้เนื่องมาจากการที่ต่างฝ่ายต่างไม่ได้ตกลงกันให้ชัดเจนเสียก่อนว่ากำลังจะบอกกล่าวเรื่องใด  ภายใต้บริบทใด  เจาะจงในประเด็นใดเป็นพิเศษ ซึ่งหากมีการตีกรอบกันให้ชัด ๆ มากเท่าใด โอกาสที่จะบอกกล่าวกันให้รู้เรื่องเข้าใจตรงกันก็มีมากขึ้น

 

งานวิจัยงานหนึ่งได้บอกไว้ว่า  การบอกกล่าวความรู้ใด ๆ ระหว่างกันนั้นหากมีความบกพร่องสี่ประการเกิดขึ้นในระหว่างที่จะบอกกล่าวกันแล้ว  ท่านว่าความรู้นั้นมิอาจจะส่งผ่านจากผู้ส่งไปถึงผู้รับได้

เริ่มจากความบกพร่องในการกำหนดจังหวะ เวลา และสถานที่  ถ้าไปตกลงกันว่าจะบอกกล่าวเรื่องการคำนวณต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากการที่น้ำมันแพง  และความวุ่นวายไม่รู้จบของการเมืองในสภา นอกสภา  กันตอนหลังการจัดเลี้ยงอาหารเที่ยงมื้อใหญ่  มีหวังที่จะไม่ได้เรื่องเพราะกลายเป็นฟังไปหลับไปเสียเป็นส่วนใหญ่  ถ้าไปบอกกล่าวเรื่องยาก ๆ ในเวลาที่ผู้คนไม่มีความพร้อม บอกกล่าวอย่างเก่งกาจและชัดเจนเพียงใด

โอกาสที่จะไม่เข้าใจก็มีอยู่มาก การเลือกเวลาและสถานที่ที่เหมาะสมจะช่วยให้การบอกกล่าวความรู้ต่าง ๆ เป็นไปอย่างได้ผลมากขึ้น

 ถ้าพฤติกรรมของผู้บอกกล่าวความรู้มีความบกพร่อง  ความรู้ก็ไปไม่ถึงผู้รับเช่นเดียวกัน  ถ้าไปกำหนดให้คนที่ชอบพูดคำหนึ่งด่าคำหนึ่งผสมกันไปมาเป็นประจำ  ไปบอกกล่าวเรื่องกริยามารยาทในการพูดคุยในหมู่ผู้บริหาร  บอกอย่างไรความรู้ในเรื่องมารยาทก็ไม่เกิดขึ้น เพราะพฤติกรรมของผู้ที่กำลังบอกความรู้มีความบกพร่องในความรู้เรื่องนั้น

 

ถ้ากำหนดให้คนที่ละเมิดกติกามาตลอดชีวิตการทำงาน  ไปบอกความรู้เรื่องการปฏิบัติตนตามกติกาเพื่อการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร  บอกไปแล้วแทนที่จะได้สมาชิกที่ดีเพิ่มขึ้น  กลับกลายเป็นเพิ่มจำนวนสมาชิกในชมรมนิยมละเมิดกติกามากขึ้นอีกหลายเท่าตัว  ดังนั้นจะกำหนดให้ใครบอกกล่าวสิ่งที่เป็นความรู้ในเรื่องใด ขอให้พิจารณาดูให้ดีว่าคน ๆ นั้นบกพร่องในความรู้เรื่องนั้นหรือไม่  ขอให้ระวังจะกลายเป็นแม่ปูที่มาสอนให้ลูกปูเดินตรง ๆ 

 

ในขณะเดียวกัน  ความบกพร่องในทัศนะคติของฝ่ายที่เป็นผู้รับความรู้ก็มีผลต่อประสิทธิผลในการบอกกล่าวความรู้เช่นเดียวกัน  ถ้ามีทัศนะคติต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ไม่คงเส้นคงวา  ความรู้ที่บอกกล่าวกันไปภายใต้ทัศนะคติหนึ่ง  เป็นที่ยอมรับเป็นที่เข้าใจกันได้  แต่พอทัศนะคติเปลี่ยนไป  ก็ปิดใจไม่ยอมรับความรู้นั้นกันเสียอีก  บอกความรู้เกี่ยวกับการค้าขายในตลาดที่มีการแข่งขันโดยเสรี  ก็กลับมีทัศนะคติว่าเป็นเรื่องของทุนนิยมข้ามชาติ  ไม่ควรใส่ใจกับความรู้นั้น 

 

ความบกพร่องในความสัมพันธ์ระหว่างผู้บอกความรู้กับผู้รับความรู้  เป็นสาเหตุอีกประการหนึ่งที่ทำให้การบอกกล่าวความรู้ไม่ได้ผล  ถ้าต่างฝ่ายต่างไม่ชอบหน้ากันแล้ว  จะบอกความรู้อะไรมา  ก็ไม่ยอมรับยอมฟังทั้งสิ้น  หรือถ้ารับฟังมาแล้วก็จะหาทางตีความไปทางที่เสียหาย  เมื่อไม่ถูกกันแล้ว  บอกอะไรมาก็คิดไปเป็นคำด่าทอติเตียนได้เสียทั้งหมด  เรื่องนี้เห็นได้ชัด ๆ จากบ้านเมืองที่ผู้คนตั้งหน้าตั้งตาไม่ชอบหน้ากัน  เราจะเห็นกันว่าบ้านเมืองนั้นมักเจริญเติบโตตามยถากรรม  จะร่ำรวยขึ้นมาก็เพราะคนอื่นทำให้และไม่ยั่งยืน  โอกาสที่จะโตแบบก้าวกระโดดแทบไม่ มี เพราะความรู้ที่มีอยู่เอามาแบ่งปันกันใช้ไม่ได้ ไม่ชอบหน้ากันจนกระทั่งยอมโง่ดีกว่าจะขอความรู้จากฝ่ายที่ตนไม่ชอบหน้า

 

นักปราชญ์ด้านการจัดการความรู้แนะนำสารพัดวิธีการในการแบ่งบันความรู้  แต่ไม่ว่าจะใช้วิธีที่ดีวิเศษเพียงใด  ความรู้ก็ไม่กระจายไปไหน  หากอยู่ในกลุ่มผู้คนที่อุดมความบกพร่องตามที่กล่าวมา  คนกลุ่มนี้แทนที่จะแบ่งปันความรู้  พวกเขากลับสนุกอยู่กับการกระจายความทุกข์ให้กันและกัน  จนกระทั่งวาระสุดท้ายมาถึงก็ยังไม่รู้ตัว



= ศึกษา ?
สิงหาคม 25, 2008, 11:02 pm
Filed under: Uncategorized

ส+อิกขะ (สิกขะ) = ศึกษา = การดูตัวเองด้วยตัวเอง อันเป็นหัวใจหลักของการศึกษา (*)

(*) เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์

22 สิงหาคม 2551 บันทึกไว้ในมติชนรายสัปดาห์



หยอกล้อ … ๒๑ ส.ค. ๒๕๕๑
สิงหาคม 23, 2008, 12:02 am
Filed under: Uncategorized
เด็กๆ ห้ภ??ป. ๒ กำลังเข้าแถวรภ??ภ??การภ?กเดินทางทัศนศึกษา ...

เด็กๆ ห้องป. ๒ กำลังเข้าแถวรอคอยการออกเดินทางทัศนศึกษา ...

ไม้เลื้ภ??และกาฝาก ฟากนี้

ไม้เลื้อยและกาฝาก ฟากนี้

ภูมิทัศน์อ่างเก็บนำบางพระ ๑๗ ส.ค. ๒๕๕๑ภูมิทัศน์ภ??างเก็บนำบางพระ ๑๗ ส.ค. ๒๕๕๑

 



hyatt regency in hua hin, april 2008
สิงหาคม 15, 2008, 12:19 am
Filed under: Uncategorized
*** (^^) ***

*** (^^) ***

หัวหิน hyatt regency
หัวหิน hyatt regency
hyatt regency หัวหิน  เม.ย. 2551

hyatt regency หัวหิน เม.ย. 2551

hyatt regency - salee post

hyatt regency - salee post

*nina on the inner beach nearby the pool*

*nina on the inner beach nearby the pool*

ง่วน ง่วน

ง่วน ง่วน

~~~@@@~~~@@@~~~

~~~@@@~~~@@@~~~

โลมา แล่นเรืภภ??่างจดจ่ภภ??ู่คนเดียว

โลมา แล่นเรือ อย่างจดจ่อ อยู่คนเดียว

\'นุกหนาน

'นุกหนาน

 



น้ำมันต่ำกว่า 100 ดอลลาร์ภายในพฤศจิกายน? 11 ส.ค. 2551
สิงหาคม 14, 2008, 11:40 pm
Filed under: Uncategorized

ทัศนะวิจารณ์

ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
11 สิงหาคม พ.ศ. 2551 00:56:00
น้ำมันต่ำกว่า 100 ดอลลาร์ภายในพฤศจิกายน?

ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ : ในเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้นอย่างน่ากลัวใกล้ 150 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ทำให้หลายคนออกมาคาดการณ์ว่า ราคาน้ำมันจะปรับตัวขึ้นไปอย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้กลัวว่า จะเห็นน้ำมันดิบราคา 200, 300 หรือแม้กระทั่ง 500 ดอลลาร์ แต่เมื่อราคาน้ำมันปรับตัวลงมาที่ 125 ดอลลาร์ ก็เริ่มมีการพูดว่าราคาน้ำมันจะปรับตัวลงมาต่ำกว่า 100 ดอลลาร์ ผมนั้นอยู่ในค่ายที่เชื่อว่า ราคาน้ำมันจะปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง และเมอร์ริล ลินช์ เชื่อว่าราคาน้ำมันน่าจะทรงตัวอยู่ที่ 90-100 ดอลลาร์ ในระยะยาว ครั้งนี้ผมขอนำเอาบทสัมภาษณ์นาย Edward Morse หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์พลังงานของ Lehman Brothers ที่ตีพิมพ์ในนิตยสาร Foreign Policy ของ Carnegie Endowment for International Peace มาสรุปให้อ่านกัน ทั้งนี้ นาย Morse กล่าวว่า เขาจะไม่แปลกใจเลย หากราคาน้ำมันดิบจะปรับลดลงต่ำกว่า 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ก่อนวันเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐ ในวันที่ 6 พฤศจิกายนนี้

นาย Morse ยอมรับว่า ตลาดน้ำมันและโภคภัณฑ์อื่นๆ ตึงตัวอย่างมากในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมาเพราะเมื่อ 10 ปีก่อนหน้าการลงทุนเพื่อพัฒนาอุปทานของอุตสาหกรรมนี้ อยู่ที่ระดับต่ำกว่าปกติมาก ไม่ว่าจะเป็นส่วนของน้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ หรือสินค้าโภคภัณฑ์อื่นๆ เมื่ออุปสงค์ขยายตัวขึ้นมาใกล้เคียงกับอุปทาน ก็ทำให้ราคาปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งการตอบสนองด้านอุปทานนั้นส่วนใหญ่มาจากการเพิ่มกำลังการผลิตของโอเปค และการเร่งการลงทุนในการสร้างโรงกลั่นน้ำมัน ซึ่งกำลังจะทำให้สถานการณ์ในส่วนของน้ำมันเบนซินและดีเซลปรับตัวดีขึ้น ในขณะเดียวกัน การปรับตัวด้านอุปสงค์กำลังเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว กล่าวคือ ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอย่างมาก กำลังทำให้ความต้องการน้ำมันปรับตัวลดลงอย่างเห็นได้ชัด ผลจากปัจจัยทั้ง 3 ปัจจัย คือ ตลาดน้ำมันกำลังคลายตัวอย่างชัดเจนเป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 2002

นาย Morse เชื่ออีกว่าในปีที่แล้ว และปีนี้ เป็นครั้งแรกในรอบ 30-40 ปี ที่โอเปคเพิ่มการผลิตอย่างต่อเนื่อง แต่การเพิ่มของอุปทานน้ำมันนั้นมิได้เป็นเรื่องที่ทราบกันโดยทั่วไป จึงเป็นการเพิ่มของอุปทานแบบไม่โปร่งใส ในส่วนของอุปสงค์ก็เกิดความเปลี่ยนแปลง คือ ความต้องการน้ำมันที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่เกิดจากประเทศกำลังพัฒนา (เดิมทีส่วนเพิ่มของอุปสงค์จะมาจากประเทศที่พัฒนาแล้ว) ซึ่งขาดความโปร่งใสเช่นกัน ตลาดที่ขาดข้อมูลที่ถ่องแท้และครบถ้วน จึงเป็นตลาดที่ตื่นตระหนกได้ง่าย และได้มีการตั้งสมมุติฐานว่าอุปสงค์จากประเทศกำลังพัฒนาจะเพิ่มขึ้นอย่างไม่มีขอบเขตจำกัด ในขณะเดียวกัน ตลาดจะเห็นว่าการผลิตจากเม็กซิโก ทะเลเหนือและอลาสก้าลดลง แต่มักไม่มีข้อมูลว่ากลุ่มโอเปคได้เพิ่มการผลิต เพื่อทดแทนการผลิตที่ลดลงดังกล่าวได้มากน้อยเพียงใด

ในช่วง 3-4 สัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งราคาน้ำมันปรับลดลงมาจาก 140 ดอลลาร์ เป็น 120 ดอลลาร์นั้น เป็นการตอบสนองของตลาดต่อตัวเลขสต็อกน้ำมันที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเกินคาด และภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้นว่าราคาที่สูงเช่นปัจจุบันนั้นกำลังทำลายอุปสงค์ (demand demolition) นอกจากนั้น ก็ยังมีคนเชื่อว่าความต้องการน้ำมันของจีนหลังกีฬาโอลิมปิกจะไม่กระเตื้องขึ้นเหมือนกับการขยายตัวอย่างก้าวกระโดดในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ ซึ่งส่วนหนึ่ง (ที่อาจเป็นส่วนสำคัญ) เพิ่มขึ้นเป็นการเพิ่มการสต็อกน้ำมันของจีน เพื่อใช้ในช่วงก่อนและระหว่างกีฬาโอลิมปิก ดังนั้น เมื่อโอลิมปิกจบลงความต้องการน้ำมันของจีน จึงอาจอ่อนตัวลงอย่างมากก็เป็นได้

ดังนั้น นาย Morse จึงจะไม่แปลกใจหากราคาน้ำมันปรับตัวลงต่ำกว่า 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ภายในต้นพฤศจิกายน แต่เขาคาดการณ์ว่าราคาน้ำมันจะลดลงเป็นตัวเลข 2 หลักภายในต้นปีหน้าอย่างแน่นอน ทั้งนี้ จะมีอยู่ 2 ปัจจัยที่จะทำให้ราคาน้ำมันปรับสูงขึ้นอย่างมาก คือ

1. ความเสี่ยงที่จะเกิดพายุในอ่าวเม็กซิโก ซึ่งทำความเสียหายให้กับการผลิตและการกลั่นน้ำมัน

2. ความขัดแย้ง สงคราม และ/หรือการก่อการร้ายที่เกิดขึ้นได้เสมอในอิหร่าน อิรัก ซาอุดีอาระเบีย และไนจีเรีย ซึ่งเป็นเรื่องที่คาดเดาได้ยาก

สิ่งที่เป็นภัยอันตรายด้านอุปทานที่มีนัยสำคัญที่สุด คือ การที่อิหร่านอาจถูกอิสราเอลโจมตี เพราะไม่ยินยอมที่จะยกเลิกการพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ ขณะนี้ อิหร่านมีจรวดที่ใช้ยิงหัวระเบิดนิวเคลียร์แล้ว แต่อิสราเอลและสหรัฐยังเชื่อว่าอิหร่านยังขาดความสามารถในการผลิตหัวรบดังกล่าว แต่เมื่อใดที่อิสราเอลเชื่อว่าอิหร่านมีศักยภาพ อิสราเอลได้ยืนยันโดยเสมอมาว่าจะจัดการกับอิหร่านในทันที หากอิหร่านถูกโจมตีก็ได้เคยข่มขู่บ่อยครั้งว่าจะระเบิดช่องแคบฮอรมูซ์ ซึ่งแคบเพียง 32 กิโลเมตร ซึ่งจะทำให้ไม่สามารถลำเลียงน้ำมันจากตะวันออกกลางออกมาสู่ตลาดโลก แต่นาย Morse เชื่อว่า การปิดช่องแคบดังกล่าวคงจะทำได้ไม่นาน เพราะกองทัพเรือของสหรัฐได้เตรียมพร้อมอยู่ที่ช่องแคบฮอรมูซ์อยู่แล้ว แต่หากเขาคาดการณ์ผิดก็จะไม่มีทางอื่นใดที่จะนำน้ำมันวันละ 17 ล้านบาร์เรลออกมาสู่ตลาดโลก (ปัจจุบันโลกใช้น้ำมันวันละ 86 ล้านบาร์เรล) หมายถึง ปริมาณน้ำมันจะหายไปเกือบ 20% ในทันที ซึ่งในกรณีดังกล่าวน้ำมันราคา 300-500 ดอลลาร์ ก็คงจะได้เห็นครับ

ในขณะเดียวกัน นาย Morse ชี้ให้เห็นว่าการผลิตน้ำมันในอิรักได้เพิ่มขึ้นเกือบ 500,000 บาร์เรลต่อวันในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา และเขายังเชื่อว่าอิรักจะเพิ่มการผลิตเพิ่มได้อีก 400,000 บาร์เรลต่อวัน ซึ่งการเพิ่มการผลิตดังกล่าวเป็นสิ่งที่ตลาดมักจะมองข้ามไป ดังนั้น นาย Morse จึงเชื่อว่าราคาน้ำมันจะปรับลงมาที่ 95-99 ดอลลาร์ ในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า แต่หากจะมองต่อไปอีกในระยะยาว นาย Morse ก็ตอกย้ำว่าโลกจะต้องเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงานอย่างจริงจังและต่อเนื่อง รวมทั้งการพัฒนาพลังงานทางเลือกต่างๆ อย่างเต็มที่ การที่ราคาน้ำมันปรับลดลงไม่ควรทำให้รัฐบาลต่างๆ นิ่งนอนใจ และปล่อยปละละเลยในเรื่องนี้



เศรษฐศาสตร์จานร้อน:ดอกเบี้ยนโยบายจะปรับเพิ่มขึ้นอีก 1% 07 ก.ค. 2551
สิงหาคม 14, 2008, 11:29 pm
Filed under: Uncategorized

ทัศนะวิจารณ์

ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
7 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 07:00:00
เศรษฐศาสตร์จานร้อน:ดอกเบี้ยนโยบายจะปรับเพิ่มขึ้นอีก 1%

 

กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ : ภัทร ปรับการคาดการณ์แนวโน้มดอกเบี้ยนโยบายซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 3.25% โดยเราเชื่อว่า คณะกรรมการนโยบายการเงินจะปรับดอกเบี้ยขึ้น 0.25% ในการประชุมของคณะกรรมการ ครั้งต่อไปในวันที่ 16 กรกฎาคม และปรับขึ้นอีก 0.25% ในการประชุมตอนปลายเดือนสิงหาคม หลังจากนั้นอาจมีการหยุดชะลอดูผล แต่คงจะต้องปรับดอกเบี้ยขึ้นอีก 0.50% ภายในครึ่งแรกของปีหน้า กล่าวโดยสรุปคือดอกเบี้ยนโยบายน่าจะปรับขึ้น 0.5% ในครึ่งหลังของปีนี้ และอีก 0.5% ในครึ่งแรกของปีหน้า ทำให้ดอกเบี้ยนโยบายปรับขึ้นไปอยู่ที่ 4.25% ภายในกลางปีหน้า การปรับดอกเบี้ยนโยบายขึ้นนั้น เป็นเรื่องที่มีการถกเถียงกันอยู่มากเพราะนักเศรษฐศาสตร์ชั้นนำของไทยบางท่าน แสดงจุดยืนชัดเจนว่าไม่เห็นด้วยเลยกับการปรับดอกเบี้ยขึ้น เพราะต้นตอของเงินเฟ้อที่สูงขึ้นนั้น เป็นผลโดยตรงจากการปรับขึ้นอย่างรุนแรงของราคาน้ำมันและวัตถุดิบต่างๆ ที่ไทยต้องนำเข้าเสมือนกับการปรับเพิ่มภาษี ซึ่งการปรับขึ้นดอกเบี้ยจะทำให้อุปสงค์ลดลง เป็นการซ้ำเติมเศรษฐกิจโดยไม่จำเป็น กล่าวคือ ควรปล่อยให้ราคาสินค้าและเงินเดือนปรับเพิ่มขึ้น และเมื่อราคาน้ำมัน/วัตถุดิบต่างๆ หยุดปรับขึ้น แรงกดดันในส่วนของเงินเฟ้อก็จะหมดลงไปเอง

 

นอกจากนั้นก็จะเห็นได้ว่าดอกเบี้ยที่กำหนดโดยตลาด เช่น ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยเงินกู้ และดอกเบี้ยระยะยาว (ที่คำนวณได้จากผลตอบแทนการถือพันธบัตรรัฐบาล) นั้น ก็ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นไปแล้ว จึงไม่จำเป็นที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจะต้องปรับดอกเบี้ยนโยบายตามไปอีก

แต่ในอีกมุมมองนั้นการที่ราคาน้ำมันและวัตถุดิบปรับเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการต้องการปรับราคาสินค้าและบริการเพิ่มขึ้น พนักงานต้องการเงินเดือนเพิ่มขึ้นและธนาคารต้องการปรับดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น หมายความว่า ทุกๆ ฝ่ายในระบบเศรษฐกิจจะต้องการปรับราคาขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมัน/วัตถุดิบ

กล่าวคือ ทุกคนต้องการส่งผ่านผลกระทบจากตนเองไปสู่ผู้อื่นหากทำได้ แต่ในกรณีที่ทุกคนทำเช่นนั้นโดยไม่มีการยับยั้งตัวเอง การปรับขึ้นของราคาสินค้า เงินเดือนและดอกเบี้ยจะไม่มีวันสิ้นสุด เพราะในที่สุดแล้วความกินดีอยู่ดีของคนไทยโดยรวมน่าจะต้องลดลงคนละประมาณ 10%

มองในด้านนี้ ก็จะเห็นได้ว่าการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายนั้น เป็นการส่งสัญญาณให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในระบบเศรษฐกิจทุกคน มีการยับยั้งชั่งใจว่ากำลังซื้อจะถูกจำกัดในระดับหนึ่ง ดังนั้นการจะปรับขึ้นราคาสินค้านั้นเป็นสิ่งที่ทำได้ แต่ต้องทำอย่างจำกัดและระมัดระวังที่สุด ในทำนองเดียวกันการจะขอปรับขึ้นเงินเดือนก็จะต้องรับทราบว่า บริษัทจะไม่สามารถปรับขึ้นราคาสินค้าและเพิ่มยอดขายเพื่อนำส่วนเกินมาปรับขึ้นเงินเดือนได้โดยง่าย สำหรับการปรับขึ้นดอกเบี้ยโดยธนาคาร ก็จำต้องคำนึงอย่างจริงจังด้วยว่าการเพิ่มภาระทางการเงินให้กับลูกค้านั้น จะเป็นภาระมากเกินไปหรือไม่

กล่าวได้ว่า การปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย คือ การส่งสัญญาณให้ผู้ที่อยู่ในระบบเศรษฐกิจรู้สึกยับยั้งชั่งใจในการคิดปรับขึ้นราคาสินค้า บริการ เงินเดือนและดอกเบี้ย เป็นการสร้างเงื่อนไขเพื่อยึดเหนี่ยวการคาดการณ์เงินเฟ้อ (anchor inflationary expectations) ไม่ให้หลุดลอยไปโดยไม่มีขอบเขตนั่นเอง ทั้งนี้เพราะการปรับดอกเบี้ยขึ้นนั้น กว่าจะส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัว ใช้เวลานานประมาณ 1 ปี เช่นหากปรับขึ้นดอกเบี้ยในครึ่งหลังของปีนี้ 0.5% ก็จะส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัวลงในครึ่งหลังของปี 2552

เมื่อเป็นเช่นนั้น ภัทรจึงเชื่อว่า ธปท.จะไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ยมากกว่า 0.5% ในครึ่งหลังของปีนี้ เพราะการส่งสัญญาณให้ตลาดรับรู้ว่านโยบายการเงินจะควบคุมการคาดการณ์เงินเฟ้อได้เกิดขึ้นแล้ว ก็น่าจะเพียงพอ เพราะเศรษฐกิจไทยนั้นมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวลงอยู่แล้วในครึ่งหลังของปี สืบเนื่องจากราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้นกว่า 50% ในครึ่งแรกของปีนี้ ประกอบกับความตึงเครียดทางการเมืองที่ดูว่าถึงทางตัน ทำให้ความเชื่อมั่นตกต่ำลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งน่าจะทำให้การลงทุนชะลอตัวอย่างมีนัยสำคัญ

สำหรับกำลังซื้อในต่างประเทศ (ภาคการส่งออก) นั้น ก็น่าจะชะลอตัวลงเช่นกัน เพราะเศรษฐกิจสหรัฐก็ดูท่าจะไม่ฟื้นตัว ในขณะที่เงินเฟ้อที่สูงขึ้นจะกดดันให้ธนาคารกลางสหรัฐต้องปรับดอกเบี้ยขึ้นในปี 2552 ตลอดจนการปรับขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางอื่นๆ (โดยเฉพาะในเอเชีย) ซึ่งได้เริ่มขึ้นไปแล้วและจะดำเนินอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ประเทศต่างๆ ก็ลดการอุดหนุนราคาน้ำมันในประเทศ ซึ่งเปรียบเสมือนการปรับขึ้นภาษี ซึ่งจะลดอุปสงค์ในเศรษฐกิจโลกในครึ่งหลังของปีนี้

ความเห็นของนักลงทุนและนักวิเคราะห์ต่างประเทศนั้นมองว่า ประเทศเอเชียแก้ปัญหาเงินเฟ้อสายเกินไป และ/หรือ ใช้นโยบายที่ไม่เหมาะสม (เช่นการควบคุมราคาสินค้าแทนการอาศัยกลไกตลาด) ทำให้ยังต้องปรับดอกเบี้ยขึ้นอีกมาก เพื่อควบคุมเงินเฟ้อให้อยู่มือในที่สุด เช่นเงินเฟ้อประเทศไทยนั้นในขณะนี้สูงเกือบ 9% แล้วและจะเป็นตัวเลข 2 หลักเร็วๆ นี้ แต่ดอกเบี้ยนโยบายยังอยู่ที่ 3.25%

ดังนั้นหาก ธปท.จะต้องปรับดอกเบี้ยขึ้น 1.0% ในครึ่งหลังของปีนี้และอีก 1.0% ในครึ่งแรกของปีหน้า ก็ไม่ใช่สิ่งที่เกินความคาดหมายของนักลงทุนต่างชาติแต่อย่างใด ที่สำคัญคือการปรับขึ้นดอกเบี้ยอย่างมากดังกล่าว ทำให้ผลประกอบการของบริษัทย่ำแย่ ทำให้นักลงทุนต่างประเทศขายหุ้นไทยอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อประเทศไทยยังมีปัญหาการเมืองรุมเร้าอีกต่อหนึ่งด้วย

ในทางตรงกันข้าม คนไทยเห็นว่าการปรับดอกเบี้ยขึ้นถึง 2.0% ในอีก 12 เดือนข้างหน้า เป็นเรื่องที่ไม่สมเหตุสมผล เพราะทุกคนมีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่า เศรษฐกิจโดยรวมไม่ได้ดีนัก และแนวโน้มในอนาคตก็ไม่ได้แจ่มใส แต่อาจทรุดตัวลงได้โดยไม่ยาก ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องส่งสัญญาณเตือนโดยการปรับขึ้นดอกเบี้ย เพราะทุกคนก็ระมัดระวังอยู่แล้ว หมายความว่ามีน้อยคนมากที่จะมีความรู้สึกว่าจะต้องเร่งรีบออกไปซื้อสินค้าเพื่อกักตุนก่อนราคาจะปรับขึ้น หรือมีการแก่งแย่งกันซื้อที่ดิน/คอนโด เพราะไม่อยากถือเงินสดหรือฝากเงินระยะยาว ซึ่งภัทรนั้นดูเสมือนว่าจะอยู่ตรงกลางระหว่างสองแนวคิดดังกล่าว

ภัทรมองว่าการปรับดอกเบี้ยขึ้น 1.0% ใน 12 เดือนข้างหน้า จะช่วยทำให้เงินเฟ้อที่จะสูงถึง 7.2% ในปีนี้ ลดลงเหลือ 3.9% ในปีหน้า แต่ในขณะเดียวกันจีดีพีก็จะขยายตัวลดลงเล็กน้อยคือเศรษฐกิจจะโต 4.6% ในปีนี้ และ 4.7% ในปีหน้า อย่างไรก็ดีหากราคาน้ำมันไม่ปรับลดลงและยืนที่ระดับปัจจุบันไปถึงปลายปีหน้า ธปท.อาจจะต้องปรับดอกเบี้ยขึ้น 2% ในอีก 12 เดือนข้างหน้า ทำให้จีดีพีขยายตัวเพียง 4.0% ในปีนี้ และ 3.6% ในปีหน้าครับ



เศรษฐศาสตร์จานร้อน:ราคาน้ำมัน 16 มิ.ย. 2551
สิงหาคม 14, 2008, 11:26 pm
Filed under: Uncategorized

ทัศนะวิจารณ์

ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
16 มิถุนายน พ.ศ. 2551 07:00:00
เศรษฐศาสตร์จานร้อน:ราคาน้ำมัน

 

กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ : เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เมอร์ริล ลินช์ พันธมิตรของภัทรปรับการคาดการณ์ราคาน้ำมันขึ้นไปอีก 15-25% ดังนี้

 

ราคาน้ำมัน (ดอลลาร์ต่อบาร์เรล)

ปี คาดการณ์ใหม่ คาดการณ์เดิม

2008 115 102

2009 107 90

2010 100 85

2011 และปีต่อไป 90 70

หลายคนอาจติว่านักวิเคราะห์ปรับคาดการณ์ราคาน้ำมันหลายครั้งแล้ว แต่ก็เหมือนกับการปรับราคาตามราคาตลาดที่ปรับเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ ความน่าเชื่อถือของนักวิเคราะห์ที่ควรจะมีความเชี่ยวชาญด้านราคาน้ำมันถดถอยลงไปมาก เพราะเคยบอกว่าราคาไม่ควรเกิน 70 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ต่อมาก็บอกว่าไม่เกิน 100 ดอลลาร์ และเมื่อปรับขึ้นมาเป็น 130 ดอลลาร์ ก็ปรับขึ้นมาเฉลี่ยที่ 115 ดอลลาร์ ในปี 2008 นี้ แปลว่า ราคาน้ำมันจะต้องมีแนวโน้มลดลงในครึ่งหลังของปีนี้ และจะลดลงต่อไปอีกจนเหลือ “เพียง” 90 ดอลลาร์ ในอีก 2 ปีข้างหน้า ทั้งๆ ที่ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ราคาน้ำมันมีแต่จะเพิ่มขึ้น ในขณะที่นักวิเคราะห์ได้คาดการณ์ว่าราคาน้ำมันจะลดลงมาโดยตลอด

ต้องยอมรับว่าผู้เชี่ยวชาญด้านน้ำมันคงจะเสียหน้าไปหลายคน ซึ่งผมเองก็ไม่เคยเชื่อว่าน้ำมันจะราคาสูงถึง 130 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เพราะหากดูจากปัจจัยพื้นฐานก็จะพบว่าราคาน่าจะอยู่ที่ 70 ดอลลาร์มากกว่า ทั้งนี้ เพราะผู้เชี่ยวชาญยืนยันว่าน้ำมันที่ขุดจากบ่อน้ำมันปัจจุบันที่เข้าถึงได้ง่ายนั้น มีต้นทุนเพียง 4-5 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล และหากต้องเปิดหลุมน้ำมันเก่าหรือหาหลุมน้ำมันใหม่ๆ ที่เข้าถึงได้ยาก ก็ยังมีปริมาณน้ำมันที่สามารถผลิตออกมาได้อีกเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ ต้นทุนจะสูงขึ้นมาก กล่าวคือ 50 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล หรือกว่า 10 เท่าของต้นทุนปกติ แต่หากราคาน้ำมันอยู่ที่ 130 ดอลลาร์ ก็คงจะไม่เป็นปัญหาอะไร อย่างไรก็ดี การลงทุนแม้จะได้ดำเนินการไปแล้ว 1-2 ปีที่ผ่านมา แต่ก็ยังต้องใช้เวลาอีก 2-3 ปี ผลผลิตจากแหล่งใหม่จึงจะเข้าสู่ตลาด

นอกจากนั้น ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานยังชี้ให้เห็นว่า เทคโนโลยีปัจจุบันสามารถสกัดน้ำมันจากหินประเภทต่างๆ อาทิเช่น tar sands ที่แคนาดา และ shale oil ที่มลรัฐดาโกตาเหนือและดาโกตาใต้ โดยทรัพยากรดังกล่าวมีอยู่เป็นจำนวนมาก จนเกือบจะไม่มีขีดจำกัด แต่ต้นทุนการผลิตอยู่ที่ประมาณ 70 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ดังนั้น หากนักลงทุนเชื่อว่าราคาน้ำมันในตลาดโลกจะอยู่ที่ระดับ 90-100 ดอลลาร์อย่างต่อเนื่อง การลงทุนเพื่อผลิตน้ำมันจาก tar sands และ shale oil จะต้องเกิดขึ้นอย่างแพร่หลายใน 5-10 ปีข้างหน้า

อีกด้านหนึ่งคือ การสร้างโรงกลั่นน้ำมันขึ้นมาใหม่ เพื่อให้เหมาะสมกับประเภทของน้ำมันดิบที่ผลิตอยู่ในขณะนี้ กล่าวคือ โรงกลั่นน้ำมันปัจจุบันนั้นเหมาะสมกับการกลั่นน้ำมันคุณภาพดี (light sweet crude) แต่น้ำมันที่ขุดเจาะได้นั้นส่วนใหญ่เป็นน้ำมันคุณภาพต่ำ (heavy crude) ซึ่งหากนำไปกลั่นโดยใช้โรงกลั่นปัจจุบันก็จะได้น้ำมันเตาเป็นจำนวนมาก แต่ได้น้ำมันเบนซินและดีเซลเป็นจำนวนน้อย ซึ่งไม่สอดคล้องกับความต้องการใช้ในปัจจุบัน

ดังนั้น จึงต้องมีการลงทุนเพื่อสร้างโรงกลั่นใหม่ ที่สามารถกลั่นน้ำมัน heavy crude ให้ได้ผลผลิตที่เป็นเบนซินและดีเซลในสัดส่วนที่สูงขึ้นตามความต้องการของตลาด แต่การสร้างโรงกลั่นดังกล่าวต้องใช้เงินหลายพันล้านบาท และต้องใช้เวลาสร้าง 5-6 ปี ดังนั้น การลงทุนจึงจะไม่สามารถเห็นผลได้ในเวลาอันใกล้

แหล่งพลังงานที่สำคัญและมีจำนวนมากในโลกคือ ก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเป็นพลังงานที่สะอาดจึงนิยมนำไปใช้ในการผลิตไฟฟ้า และเพื่อการหุงต้มและกำลังพัฒนาเพื่อนำไปใช้ในการขับเคลื่อนรถยนต์ ดังที่ทำอยู่ในประเทศไทยและประเทศอื่นๆ ในขณะนี้ พลังงานที่สำคัญอีกประเภท คือพลังงานนิวเคลียร์ซึ่งคาดการณ์ว่า จะมีการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ปีละ 20-30 โรง ใน 10 ปีข้างหน้า

จึงสามารถสรุปได้ว่า โลกจะสามารถผลิตพลังงานให้ได้เพียงพอตามความต้องการที่เพิ่มขึ้นของประเทศกำลังพัฒนาขนาดใหญ่ อาทิเช่น จีน และอินเดีย ซึ่งเศรษฐกิจกำลังขยายตัวในอัตรา 8-9% ต่อปีและมีประชากรรวมกัน 2,400 ล้านคน ทำให้ความต้องการพลังงานของ 2 ประเทศ และประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ขยายตัวอย่างก้าวกระโดด ทั้งนี้ หากประเมินว่าเศรษฐกิจโลกจะสามารถขยายตัวได้ปีละ 3% ก็คาดการณ์ได้ว่า ความต้องการใช้น้ำมันน่าจะเพิ่มขึ้นปีละ 4% หรือประมาณ 3-4 ล้านบาร์เรลต่อวัน ทั้งนี้ ไม่รวมความต้องการพลังงานประเภทอื่นๆ ซึ่งน่าจะขยายตัวในอัตราที่ใกล้เคียงกัน

หากประเมินปัจจัยทั้งด้านอุปสงค์และอุปทาน ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่จึงสรุปว่า หากมองไปในระยะยาวแล้ว ราคาน้ำมันไม่น่าจะสูงถึง 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลได้ แม้ว่าผู้เชี่ยวชาญบางกลุ่ม อาทิเช่น กลุ่ม peak oil ที่เชื่อว่าเมื่อผลิตน้ำมันจนปริมาณน้ำมันของโลกเหลืออยู่ไม่ถึงครึ่ง (ซึ่งโลกได้ผ่านจุดดังกล่าวไปแล้ว) ปริมาณการผลิตในอนาคตจะต้องลดลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น กลุ่ม peak oil จึงเชื่อว่าราคาน้ำมันจะสามารถปรับเพิ่มขึ้นเป็น 200, 300, 400 หรือ 500 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ก็เป็นไปได้ทั้งสิ้น

ใครจะเป็นฝ่ายที่คาดการณ์ได้ถูกต้อง เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน นาย Tony Hayward ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ BP ได้ตกลงพนันกับศาสตราจารย์ Kjell Aleklett แห่งมหาวิทยาลัย Uppsala ของสวีเดน โดยนาย Hayward เชื่อว่าปริมาณการผลิตน้ำมันในโลกจะสูงกว่า 85.5 ล้านบาร์เรลในปี 2018 หรืออีก 10 ปีข้างหน้า

โดยศาสตราจารย์ Aleklett เชื่อว่าปริมาณการผลิตน้ำมันในโลกจะต่ำกว่า 85.5 ล้านบาร์เรลอย่างมาก เพราะปริมาณดังกล่าวเป็นปริมาณการผลิตในปี 2008 นี้ และน้ำมันในโลกจะหมดไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ไม่สามารถรักษาระดับการผลิตที่ 85.5 ล้านบาร์เรลต่อวันได้ในอนาคต ทั้งนี้ ผู้ที่แพ้การพนันจะต้องจ่ายเงินให้กับอีกฝ่ายหนึ่งเท่ากับราคาน้ำมัน 1 บาร์เรล

สำหรับผมนั้นอยู่ฝั่งของนาย Hayward ครับ



เศรษฐศาสตร์จานร้อน:ปัญหาเงินเฟ้อของประเทศไทย 23 มิ.ย. 2551
สิงหาคม 14, 2008, 11:22 pm
Filed under: Uncategorized

ทัศนะวิจารณ์

ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
23 มิถุนายน พ.ศ. 2551 07:00:00
เศรษฐศาสตร์จานร้อน:ปัญหาเงินเฟ้อของประเทศไทย

 

กรุงเทพธุรกิจ ออนไลน์ : ในการประชุมของรัฐมนตรีคลังของประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจ คือ กลุ่มจี 8 ที่ผ่านมาได้เปลี่ยนท่าทีจากเดิม ที่กลัวปัญหาสภาพคล่องและสินเชื่อชะงักงันจากวิกฤติ subprime ของสหรัฐ มาแสดงความเป็นห่วงปัญหาเงินเฟ้อจากการปรับขึ้นราคาของน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งเป็นการปรับเปลี่ยนท่าทีจากหน้ามือเป็นหลังมือ เพราะกรณีแรกคือ การกลัวเศรษฐกิจหดตัวจากธนาคารไม่ยอมปล่อยสินเชื่อมาเป็นการกลัวเงินเฟ้อ

ซึ่งทางแก้คือ การปรับขึ้นดอกเบี้ยเพื่อส่งสัญญาณให้ผู้ประกอบการและประชาชนไม่คาดหวังว่า เงินเฟ้อจะปรับตัวสูงขึ้นแต่ด้านเดียว แต่จะต้องกังวลว่ากำลังซื้ออาจจะหดตัวลงด้วย ซึ่งจะเป็นการปรามเงินเฟ้อไม้ให้ทะยานตัวขึ้นไปจนควบคุมไม่ได้

ประเด็นนี้เป็นประเด็นสำคัญที่จะต้องเข้าใจร่วมกัน เพราะในอนาคตมีความเป็นไปได้สูงว่าคณะกรรมการนโยบายการเงินจะปรับดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องไปจนถึงปีหน้า ซึ่งบทสัมภาษณ์ ดร.ดวงมณี วงศ์ประทีป ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์มติชนเมื่อ 16 มิถุนายน มีประเด็นเชิงวิเคราะห์ที่สำคัญๆ ซึ่งผมของนำมาถ่ายทอดและตีความให้อ่านกันในครั้งนี้ครับ

1. ขณะนี้เงินเฟ้อทะยานขึ้นอย่างรวดเร็วมาก ทั้งในส่วนของเงินเฟ้อทั่วไปและเงินเฟ้อพื้นฐาน ที่สำคัญคือ ธปท.มองว่า “ตอนนี้ไม่ใช่เพียงเงินเฟ้อเร่งตัวจากแรงกดดันด้านราคา (cost push) แต่เมื่อต้นทุนปรับสูงขึ้นและนำไปสู่การขึ้นราคาและค่าจ้างแรงงาน….ทำให้เงินเฟ้อที่เร่งตัวตอนนี้มาจากแรงกดดันด้านบริโภคด้วย (demand pull)” ผลก็คือราคาสินค้าจะต้องปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมาก

2. เป็นครั้งแรกที่ผมเห็นข้อคิดจาก ธปท.ว่า “ถึงแม้การส่งออกจะแผ่วลงไปบ้าง แต่ภาคการใช้จ่ายในประเทศยังคงเดินต่อไปได้ เพราะฉะนั้นสามารถบอกได้ว่า ขณะนี้ปัจจัยด้านการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจไม่ได้เป็นอุปสรรคต่อการที่เราจะมีมาตรการต่อสู้กับปัญหาเงินเฟ้อ” ซึ่งสำหรับผมแปลว่า เศรษฐกิจขยายตัวดีพอใช้ได้ ดังนั้น ธปท.จึงน่าจะปรับดอกเบี้ยขึ้นเพื่อลดเงินเฟ้อลงได้

ดังนั้นจึงเห็นว่า “การปรับดอกเบี้ยไม่น่าจะเป็นตัวทำร้ายเศรษฐกิจมากนัก (เพราะ) ถือว่าดอกเบี้ยของเรายังอยู่ในระดับที่ผ่อนคลายมาก โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับอัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัวมากขนาดนี้” ตรงนี้หลายคนอาจแย้งว่าเพียงเท่านี้ก็มีปัจจัยรุมเร้ามากมายอยู่แล้ว ธปท.จะยังต้องปรับดอกเบี้ยขึ้นเพื่อเพิ่มภาระทางการเงินอีกทำไม

3. คำตอบคือ “บทบาทของ ธปท.” คือเราต้องส่งสัญญาณไปว่า ธปท.จะดูแลเงินเฟ้ออย่างจริงจัง ซึ่งจะช่วยให้การขอปรับขึ้นราคาสินค้ามากๆ โดยไม่มีเหตุผลลดลงไปได้และสินเชื่อก็จะไม่เร่งตัวมากเช่นกัน การส่งสัญญาณเป็นเรื่องของจิตวิทยา ถ้าคิดว่าเงินเฟ้อจะสูงมาก ก็จะมีการเรียกร้องขอขึ้นราคาเพื่อไม่ให้เสียประโยชน์ คือ ในช่วงที่ผ่านมาเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นเกือบ 8% ทำให้รัฐบาลและเอกชนต้องปรับค่าจ้างและเงินเดือนขึ้นเพื่อชดเชยการเพิ่มของเงินเฟ้อ เมื่อผู้ประกอบการเห็นดังนั้นก็เชื่อว่าในอนาคตจะสามารถปรับราคาสินค้าเพิ่มขึ้นได้ 8-10% ไปได้อีกอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นทุกคนจึงจะเรียกร้องปรับราคาสินค้าของตนและค่าจ้างของตนเพิ่มขึ้น 8-10% เช่นกันและเมื่อทุกคนคิดเช่นนั้นและเรียกร้องเช่นนั้น สิ่งนั้นก็จะเกิดขึ้นจริงๆ ผู้ที่เสียหายคือผู้ที่มีรายได้ตายตัว เช่นผู้เกษียณอายุและข้าราชการตลอดจนผู้ที่ยากจน ซึ่งรายได้จะปรับขึ้นได้เชื่องช้ากว่ากลุ่มอื่นๆ

เพราะฉะนั้น ธปท.ต้องดูแลไม่ให้เกิดคาดหวังว่าเงินเฟ้อจะเร่งตัวถึงระดับนั้น

4. เงินเฟ้อในตอนนี้มีแรงส่งมาทั้งจากราคาน้ำมัน สินค้าเกษตรและสินค้าโภคภัณฑ์พร้อมๆ กัน ลักษณะเงินเฟ้อแบบนี้ยิ่งทำให้เศรษฐกิจชะลออยู่แล้ว จึง (ควร) ค่อยๆ ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปก่อน แล้วตามดูผลต่อไปเพราะการขึ้นดอกเบี้ยในตอนนี้ไม่ได้เพื่อแก้ปัญหาในปัจจุบัน แต่เป็นการแก้ปัญหาที่มองไปถึงเงินเฟ้อในอนาคต โดยดอกเบี้ยที่สูงขึ้นต้องใช้เวลา 2-3 ไตรมาสกว่าจะเห็นผลเต็มที่

กล่าวโดยสรุปคือการคาดการณ์เงินเฟ้อในอนาคตกำลังทวีความรุนแรงขึ้น ทำให้ ธปท.ต้องขึ้นดอกเบี้ยเพื่อปรามแนวคิดดังกล่าวว่าเงินเฟ้อจะปรับขึ้นไปเรื่อยๆ ทั้งนี้จะปรับดอกเบี้ยขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทำให้สามารถตั้งคำถามได้ดังนี้

1.หากการคาดการณ์เงินเฟ้อ (inflationary expectations) รุนแรงจริง นโยบายที่เหมาะสมควรจะเป็นการค่อยๆ ปรับดอกเบี้ยขึ้นจริงหรือ เพราะการปรับดอกเบี้ยที่ “ตามเงินเฟ้อ” จะมีประสิทธิผลเพียงใด ในการปรับเปลี่ยนการคาดหวังหรือทัศนคติของผู้ที่เกี่ยวข้อง หมายความว่าหากจะให้ผู้ประกอบการไม่กล้าปรับราคาขึ้นและพนักงานไม่กล้าเรียกร้องเงินเดือนขึ้น จะต้องปรับดอกเบี้ยขึ้นอย่างมากโดยทันทีหรือไม่ เพื่อให้เชื่อได้ว่าไม่มีใครกล้าปรับราคาสินค้าและบริการขึ้นต่อไปอีก (แทนที่จะค่อยๆ ปรับดอกเบี้ยขึ้นเพียงพอที่จะ “ปราม” เงินเฟ้อ) และหากทำเช่นนั้นผลกระทบในการชะลอเศรษฐกิจลงจะเป็นที่ยอมรับกันได้หรือไม่

2. ประเด็นที่สืบเนื่องคือ การจะปรับดอกเบี้ยขึ้นเป็นการดำเนินนโยบายเพื่อลดดีมานด์ แต่รัฐบาลพยายามเร่งการใช้จ่ายและดำเนินนโยบายการคลังแบบขาดดุล เป็นความพยายามที่จะเพิ่มดีมานด์ ซึ่งดูจะขัดแย้งกันอยู่ แต่หากทำให้เกิดความชัดเจนได้ว่าภาครัฐนั้นต้องการผลักดันการลงทุน (ซึ่งเพิ่มดีมานด์แต่ก็เพิ่มซัพพลายในอนาคตด้วย) และช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยเป็นหลัก ก็จะทำให้กลุ่มอื่นๆ เข้าใจว่า กลุ่มตนจะเป็นผู้ที่จะต้องเป็นผู้รับภาระการปราบเงินเฟ้อในครั้งนี้

ในที่สุดสิ่งที่จะเกิดขึ้นคือจะมีกลุ่มผลประโยชน์กลุ่มต่างๆ เรียกร้องความช่วยเหลือจากรัฐบาล เพราะไม่อยากเป็นกลุ่มที่ต้องร่วมแบกรับภาระการปรับตัวดังกล่าว เช่น กลุ่ม เอสเอ็มอี ชาวประมง บริษัทรถขนส่งสิบล้อ เป็นต้น รัฐบาลจึงต้องเตรียมรับมือตรงนี้ให้ดีว่าจะช่วยใครและไม่ช่วยใครเพราะรัฐบาลมีรายได้ (จากภาษี) เพียง 17% ของจีดีพีและเมื่อหักต้นทุนของตัวเอง (เงินเดือนและดอกเบี้ย) ออกไปแล้วจะเหลือเงินเพื่อช่วยกลุ่มต่างๆ เพียง 5-6% ของจีดีพี

3. ควรทำความเข้าใจร่วมกันให้ชัดเจนว่า องค์กรของรัฐบาลที่มีหน้าที่จัดการกับเงินเฟ้อคือ ธนาคารแห่งประเทศไทย ผ่านการชี้นำของคณะกรรมการนโยบายการเงิน ไม่ใช่กระทรวงพาณิชย์ เวลาจะร้องเรียนว่าเงินเฟ้อเป็นปัญหาควรไปร้องเรียนที่ ธปท. ไม่ใช่กระทรวงพาณิชย์ ทั้งนี้ผมไม่เถียงว่ากระทรวงพาณิชย์มักจะทำตัวเป็นผู้ปกป้องผลประโยชน์ของผู้บริโภค โดยบังคับให้ผู้ผลิตตรึงราคาสินค้าทั้งๆ ที่ต้นทุนเพิ่มขึ้น แต่สิ่งที่ทำ คือ การอั้นแรงกดดันเงินเฟ้อเอาไว้เพียงชั่วคราวและเมื่ออั้นเอาไว้มากๆ จนอั้นไม่อยู่ก็จะทำให้เงินเฟ้อปรับตัวขึ้นอย่างรุนแรง

ในขณะที่บังคับไม่ให้ปรับราคาขึ้นนั้นก็ยังส่งผลให้ผู้ผลิตท้อแท้ไม่ต้องการลงทุนเพื่อขยายและปรับปรุงสินค้าอีกด้วย ทำให้การลงทุนไม่เพิ่มขึ้น แปลว่ากำลังการผลิตในอนาคตไม่เพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้เงินเฟ้อลดลงได้ยากลำบากขึ้นในอนาคต (เพราะในที่สุดแล้วเงินเฟ้อคือการที่ประเทศมีปริมาณเงินมากกว่าปริมาณสินค้านั่นเอง)

บทสัมภาษณ์ที่ผมกล่าวถึงนี้สรุปว่า ต้องปรับดอกเบี้ยขึ้นเพราะดีมานด์เริ่มสูงเกินไปแล้ว โดยชี้นำว่าจะทำได้โดยการปรับดอกเบี้ยขึ้น แต่การลดการใช้จ่ายของรัฐบาลก็เป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งเช่นกัน เพราะหากรัฐบาลขาดดุลงบประมาณลดลงดอกเบี้ยระยะยาวก็ปรับลดลง ซึ่งดอกเบี้ยพันธบัตรรัฐบาลนั้นอาจมีผลโดยตรงต่อธนาคารพาณิชย์ และผู้ประกอบการมากเท่ากับหรือมากกว่าการกำหนดดอกเบี้ยระยะสั้นของ ธปท.

อีกทางเลือกหนึ่งคือ การแทรกแซงเพื่อให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น เพราะต้นตอเงินเฟ้อส่วนใหญ่เกิดจากราคาน้ำมันและวัตถุดิบที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ ซึ่งหลายคนใน ธปท.อาจแสดงความไม่เห็นด้วย โดยอ้างว่า ธปท.ไม่มีนโยบายแทรกแซงค่าเงินบาท แต่ในความเป็นจริงแล้วได้มีการแทรกแซงโดยตลอดมาครับ