สวัสดีเสมอ


นวัตกรรมการออกกำลังกาย
มกราคม 18, 2008, 12:09 am
Filed under: Uncategorized

ยางยืด พิชิตโรค

ตาราง 9 ช่อง เยาะย่างโยกย่ำ



มรดกโลก ใน Madagascar
มกราคม 17, 2008, 12:32 am
Filed under: Uncategorized

จากรายการ สุดหล้าฟ้าเขียว ชุดมรดกโลก   16 มค. 2551

Madagascar

Green Island –> Great Island (Great Red Island) แหล่งมรดกโลก

Parc national Tsingy de Bemaraha

(Africa splitted into India Ocean)

ชาว Malagasy ตั้งแต่คริสตสตวรรษ 16 

ต้นไม้ส่วนใหญ่เป็นต้นมะเดื่อ

Endemic = ถิ่นเดียว

Lemur

Vazimbar – white pigme



10 หนังสือสากลที่อ่านซ้ำ
มกราคม 14, 2008, 11:33 pm
Filed under: Uncategorized

1. The Harry Potter series by J.K. Rowling

2. The Lord of the Rings by JRR Tolkien

3. Pride and Prejudice by Jane Austen

4. The Hobbit by JRR Tolkien

5. Jane Eyre by Charlotte Bronte

6. 1984 by George Orwell

7. The Da Vinci Code by Dan Brown

8. The Lion, The Witch and the Wardrobe by C.S. Lewis

9. Wuthering Heights by Emily Bronte

10. Catch-22 by Joseph Heller

สำรวจจากผู้อ่านอังกฤษ 2,000 คน โดย Costa



“ดอกแก้วกัลยา” – บทเพลงจากผู้พิการถวายแด่สมเด็จพระพี่นางฯ
มกราคม 11, 2008, 12:22 am
Filed under: Uncategorized

 ที่มา เว็บไซต์มูลนิธิพัฒนาคนพิการไทย

เนื้อเพลง 

คำร้อง: ประภาส ชลศรานนท์
ทำนอง: ประภาส ชลศรานนท์
เรียบเรียง: ประภาส ชลศรานนท์
ขับร้อง: อธิศรี สงเคราะห์ (พิการตาบอด)

แก้วกัลยาทรงคุณค่าเหนือจิตใจ
คือดอกไม้แห่งความรักและการแบ่งปัน
องค์พระพี่นางพระราชทานเป็นมิ่งขวัญ
ให้ผองผู้พิการไทยทั้งปวง
*** ดอกไม้ฟ้า แห่งกรุณา ประทานลงมาแสนชื่นใจ
ดั่งดอกไม้จากเทวาลัยจากแดนสรวง
ดอกไม้ฟ้า แก้วกัลยา แทนใจทั้งปวง
แทนความรักความเป็นห่วงความชื่นชม
ขาดแขนขาหรือดวงตามองไม่เห็น
ใช่จะลำค็ญใช่จะทุกข์หรือตรอมตรม
ยังมีหัวใจสู้ต่อไปอย่างสุขสม
คือชีวิตที่ชื่นชมโลกงดงาม

ซ้ำ ***



กิจกรรมของเด็กๆ ในธันวาคม ๒๕๕๐
มกราคม 7, 2008, 1:57 am
Filed under: Uncategorized


พระราชดำรัส…พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
มกราคม 3, 2008, 11:04 pm
Filed under: Uncategorized

พระบรมราโชวาทและพระราชดำรัส
ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พระราชทานแก่คณะบุคคลในวาระต่างๆ

ความเพียร

              การสร้างสรรค์ตนเอง การสร้างบ้านเมืองก็ตาม มิใช่ว่าสร้างในวันเดียว ต้องใช้เวลา ต้องใช้ ความเพียร ต้องใช้ความอดทน เสียสละ แต่สำคัญที่สุดคือความอดทนคือไม่ย่อท้อ ไม่ย่อท้อในสิ่งที่ดีงาม สิ่งที่ดีงามนั้นทำมันน่าเบื่อ บางทีเหมือนว่าไม่ได้ผล ไม่ดัง คือดูมันครึทำดีนี่ แต่ขอรับรองว่าการทำให้ดีไม่ครึต้องมีความอดทน เวลาข้างหน้าจะเห็นผลแน่นอนในความอดทนของตนเอง

พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่นักเรียน นักศึกษา ครู และอาจารย์ในโอกาสเข้าเฝ้าฯวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๑๖
 


ความพอดี

              ในการสร้างตัวสร้างฐานะนั้นจะต้องถือหลักค่อยเป็นค่อยไป ด้วยความรอบคอบ ระมัดระวังและความพอเหมาะพอดี ไม่ทำเกินฐานะและกำลัง หรือทำด้วยความเร่งรีบ เมื่อมีพื้นฐานแน่นหนารองรับพร้อมแล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญก้าวหน้าในระดับสูงขึ้น ตามต่อกันไปเป็นลำดับผลที่เกิดขึ้นจึงจะแน่นอน มีหลักเกณฑ์ เป็นประโยชน์แท้และยั่งยืน

พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยขอนแก่น วันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๔๐
 


ความรู้ตน
               เด็กๆ ทำอะไรต้องหัดให้รู้ตัว การรู้ตัวอยู่เสมอจะทำให้เป็นคนมีระเบียบและคนที่มีระเบียบดีแล้ว จะสามารถเล่าเรียนและทำการงานต่างๆ ได้โดยถูกต้องรวดเร็ว จะเป็นคนที่จะสร้างความสำเร็จและความเจริญ ให้แก่ตนเองและส่วนรวมในอนาคตได้อย่างแน่นอนพระบรมราโชวาท พระราชทานลงพิมพ์ในหนังสือ วันเด็ก ประจำปี ๒๕๒๑
คนเราจะต้องรับและจะต้องให้

                คนเราจะเอาแต่ได้ไม่ได้ คนเราจะต้องรับและจะต้องให้ หมายความว่าต่อไป และเดี๋ยวนี้ด้วยเมื่อรับสิ่งของใดมา ก็จะต้องพยายามให้ ในการให้นั้น ให้ได้โดยพยายามที่จะสร้างความสามัคคีให้หมู่คณะและในชาติ ทำให้หมู่คณะและชาติประชาชนทั้งหลายมีความไว้ใจซึ่งกันและกันได้ ช่วยที่ไหนได้ก็ช่วย ด้วยจิตใจที่เผื่อแผ่โดยแท้

พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่นักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น วันที่ ๒๐ เมษายน ๒๕๒๑อ่อนโยน แต่ไม่อ่อนแอ

                 ในวงสังคมนั้นเล่า ท่านจะต้องรักษามารยาทอันดีงามสำหรับสุภาพชน รู้จักสัมมาคารวะ ไม่แข็งกระด้าง มีความอ่อนโยนแต่ไม่อ่อนแอ พร้อมจะเสียสละประโยชน์ส่วนตัวเพื่อส่วนรวม

พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๔๙๖พูดจริง ทำจริง

               ผู้หนักแน่นในสัจจะพูดอย่างไร ทำอย่างนั้น จึงได้รับความสำเร็จ พร้อมทั้งความศรัทธาเชื่อถือและความยกย่องสรรเสริญ จากคนทุกฝ่าย การพูดแล้วทำ คือ พูดจริง ทำจริง จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมเกียรติคุณของบุคคลให้เด่นชัด และสร้างเสริมความดี ความเจริญ ให้เกิดขึ้นทั้งแก่บุคคลและส่วนรวม

พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๕๔๐


หนังสือเป็นออมสิน


               หนังสือเป็นการสะสมความรู้และทุกสิ่งทุกอย่างที่มนุษย์ได้สร้างมา ทำมา คิดมา แต่โบราณกาลจนทุกวันนี้ หนังสือจึงเป็นสิ่งสำคัญ เป็นคล้ายๆ ธนาคารความรู้และเป็นออมสิน เป็นสิ่งที่จะทำให้ มนุษย์ก้าวหน้าได้โดยแท้

พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่คณะสมาชิกห้องสมุดทั่วประเทศ ในโอกาสที่เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท วันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๑๔
 


ความซื่อสัตย์

                ความซื่อสัตย์สุจริตเป็นพื้นฐานของความดีทุกอย่าง เด็กๆ จึงต้องฝึกฝนอบรมให้เกิดมีขึ้นในตนเอง เพื่อจักได้เติบโตขึ้นเป็นคนดีมีประโยชน์ และมีชีวิตที่สะอาด ที่เจริญมั่นคง

พระบรมราโชวาท พระราชทานเพื่อเชิญลงพิมพ์ในหนังสือวันเด็ก ปี พุทธศักราช ๒๕๓๑

การเอาชนะใจตน

                 ในการดำเนินชีวิตของเรา เราต้องข่มใจไม่กระทำสิ่งใดๆ ที่เรารู้สึกด้วยใจจริงว่าชั่วว่าเสื่อม เราต้องฝืนต้องต้านความคิดและความประพฤติทุกอย่างที่รู้สึกว่าขัดกับธรรมะ เราต้องกล้าและบากบั่นที่จะกระทำสิ่งที่เราทราบว่าเป็นความดี เป็นความถูกต้อง และเป็นธรรม ถ้าเราร่วมกันทำเช่นนี้ ให้ได้จริงๆ ให้ผลของความดีบังเกิดมากขึ้นๆ ก็จะช่วยค้ำจุนส่วนรวมไว้มิให้เสื่อมลงไป และจะช่วยให้ฟื้นคืนดีขึ้นได้เป็นลำดับ

 

พระราชดำรัส พระราชทานเพื่อเชิญไปอ่าน ในพิธีเปิดการประชุมยุวพุทธิกสมาคมทั่วประเทศ ครั้งที่ ๑๒ ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๑๓

  ความเพียร   “…ความเพียรนี้ ถ้ารักษาไว้ จะนำมาสู่ความเจริญแน่นอน
เพราะว่าเป็นบารมีอย่างหนึ่ง และบารมีอย่างหนึ่งที่ปฎิบัติดีแล้ว
     จะสามารถนำมาสู่บารมีทั้ง 10 ท่านเรียกว่าบารมี 10…”
____________________________________

ความได้อัตภาพเป็นมนุษย์ เป็นการยาก
ชีวิตของสัตว์ทั้งหลาย เป็นอยู่ยาก
การได้ฟังพระสัทธรรม เป็นของยาก
การอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็นการยากยิ่ง
============================
ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท

จำไว้ว่ายังมีอะไร ๆ  อีกมากมายในการทำงานและในชีวิต
มากกว่าการทำงานให้มีชีวิตอยู่  หรือการมีชีวิตอยู่เพื่อทำงาน
อย่าเป็นคนตรงต่อเวลา  แต่ให้ไปก่อนเวลาจะดีกว่า
อย่าได้หลอกตัวเองว่าการมีสิ่งของอยู่บนโต๊ะมากหมายถึงการมีงานมาก
เพียงแต่หมายความว่ายังไม่ได้ทำมันนั้นเอง
จัดเก็บโต๊ะให้เรียบร้อย
บุคคลส่วนใหญ่ที่ประสบความสำเร็จมักมีโต๊ะที่ว่างโล่ง
อย่าได้เป็นกังวลจนมากเกินไป
ว่าเพื่อนร่วมงานจะคิดอย่างไรกับคุณ
เพราะส่วนใหญ่ในชีวติของพวกเขา  ไม่ได้คิดถึงคุณเลย
จงร่ำรวยเงินสด
จงหาเวลาแทนที่จะรอเวลา
จงยิ้มไว้เสมอ
จงมีความเพียรอันบริสุทธิ์  สติปัญญาที่เฉียบแหลม  ร่างกายที่สมบูรณ์  จะนำมาซึ่งความสำเร็จ”พระราชดำรัส…พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ขอพระองค์ทรงพระเจริญ

พระบรมราโชวาทฯ ที่ได้อัญเชิญมาข้างต้น ถือเป็นแนวทางที่สำคัญยิ่งต่อโครงการ “ยุวทูตความดี” กล่าวคือ

  1. คนและสังคม (หรือชาติบ้านเมือง) เป็นปัจจัยที่เกื้อกูลกัน เมื่อคนรู้จักหน้าที่และปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ดีแล้ว สังคมและชาติบ้านเมืองย่อมมีความก้าวหน้า มั่นคง ในขณะเดียวกัน สังคมที่แข็งแรง มั่นคงย่อมส่งผลให้คนในสังคมมีความสงบสุข ในทำนองเดียวกัน โครงการ “ยุวทูตความดี” มีเป้าหมายที่จะสร้างและพัฒนาคนโดยเฉพาะเด็กประถมวัย ให้เป็น ทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพและคุณธรรม ให้เป็นผู้รู้จักหน้าที่ของตนในสังคม เพื่อเป็นกำลังในการพัฒนาสังคมให้มีความเจริญ ก้าวหน้าและมั่นคงต่อไป และเมื่อสังคมมีคนดี มากขึ้น ย่อมส่งเสริมและปกป้องให้คนในสังคมสามารถปฏิบัติหน้าที่อันดีของตนได้อย่างเต็มที่ต่อไป
  2. คนไทยแต่ละคนเปรียบเสมือนตัวแทนของสังคมไทยและประเทศไทย ในยุคโลกาภิวัฒน์ซึ่งมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสาร การเดินทาง/คมนาคม ไม่เพียงแต่ คนไทยในต่างประเทศเท่านั้น หากรวมถึงคนไทยทุกคนที่เป็นตัวแทนของสังคมไทย การที่คนไทยเป็นผู้มีคุณภาพและคุณธรรม นอกจากจะส่งผลให้สังคมและประเทศชาติ มีความเจริญก้าวหน้าโดยตรงแล้ว ยังส่งผลให้ชาวต่างประเทศมีความมั่นใจที่จะติดต่อสมาคมกับคนไทย อันนำมาซึ่งความร่วมมือในด้านต่างๆ อาทิ การค้า การลงทุน การท่องเที่ยว การพัฒนาทางเทคโนโลยี ฯลฯ ระหว่างคนไทยและชาวต่างประเทศ ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยมีความเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้นไปอีก

————————————-

สรุปหลักสอน ประมวลพระราชดำรัส/พระบรมราโชวาทบางตอน ในโอกาส
ความรู้ต้องคู่กับคุณธรรม “เด็กๆ นอกจากจะต้องเรียนความรู้แล้ว ยังต้องหัดทำการงานและทำความดีด้วย เพราะการทำงานจะช่วยให้มีความสามารถ มีความขยันอดทนพึ่งตนเองได้ และการทำดีนั้นจะช่วยให้มีความสุขความเจริญ ทั้งป้องกันตนไว้ไม่ให้ตกต่ำ” พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน10 มกราคม 2530
หาวิชา และฝึกอบรมความเป็นระเบียบ “เด็กควรขวนขวายหาวิชา พร้อมทั้งฝึกอบรมความเป็นระเบียบรู้เหตุรู้ผลให้แก่ตัว เพราะวิชาและความเป็นระเบียบนั้นจะช่วยให้คิดถูก ทำถูก พูดถูก จะทำให้เป็นคนมีอิสรภาพแท้อย่างเต็มเปี่ยม ในวันข้างหน้า” พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน12 ธันวาคม 2517
ความรู้ ความดี วินัย “เด็กต้องเรียนความรู้ อบรมความดี ฝึกหัดวินัยให้มีพร้อมแต่เยาวัย จึงจะมีความสุขความเจริญได้ ทั้งในวันนี้และวันข้างหน้า” พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน18 ธันวาคม 2522
หน้าที่ของแต่ละคน คือ ทำความดี ประพฤติสุจริต และสำหรับผู้ที่เกิดก่อน ก็ยังรวมถึงการถ่ายทอดความรู้ ความดีและประสบการณ์แก่ผู้ที่เกิดทีหลังด้วย “เด็กเป็นผู้ที่จะได้รับช่วงทุกสิ่งทุกอย่างต่อจากผู้ใหญ่ รวมทั้งภาระรับผิดชอบในการธำรงรักษาอิสรภาพและความสงบสุขของบ้านเมือง ดังนั้น เด็กทุกคนจึงสมควรและจำเป็นที่จะต้องได้รับการอบรมเลี้ยงดูอย่างถูกต้องเหมาะสม ให้มีความสามารถสร้างสรรค์ประโยชน์ต่างๆ พร้อมทั้งการฝึกหัดขัดเกลาความคิดจิตใจให้ประณีต ให้มีศรัทธามั่นคงในคุณความดี มีความประพฤติเรียบร้อยสุจริตและมีปัญญาฉลาดแจ่มใสในเหตุในผล หน้าที่นี้เป็นของทุกคน ที่จะต้องร่วมมือกันกระทำโดยพร้อมเพรียงสม่ำเสมอ ผู้ที่เกิดก่อน ผ่านชีวิตมาก่อน จะต้องสงเคราะห์อนุเคราะห์ผู้เกิดตามมาภายหลัง ด้วยการถ่ายทอดความรู้ความดี และประสบการณ์อันมีค่าทั้งปวงให้ด้วยความเมตตาเอ็นดูและด้วยความบริสุทธิ์ใจ ให้เด็กได้ทราบ ได้เข้าใจและสำคัญที่สุด ให้รู้จักคิดด้วยเหตุผลที่ถูกต้อง จนสามารถเห็นจริงด้วยตนเองได้ในความเจริญและความเสื่อมทั้งปวง” ภูพานราชนิเวศน์21 พฤศจิกายน 2521
ฝึกหัดตนและสร้างนิสัยให้เป็นผู้มีเหตุผล มีระเบียบ และมีความดี “ในวัยเด็ก คนมีความว่องไวทางสมองสูง สามารถรับทราบและจดจำได้รวดเร็ว ถ้าพยายามเล่าเรียนวิชาความรู้ พยายามสังเกตพิจารณาสิ่งต่างๆ พยายามฝึกหัดตนให้มีเหตุผล มีระเบียบ มีความดี ก็จะติดเป็นนิสัยและสามารถนำออกมาใช้ได้โดยถูกต้อง ช่วยให้เกิดความสุข ความสำเร็จ และความรุ่งเรืองแก่ตนได้อย่างแน่นอนในวันข้างหน้า” พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน1 ตุลาคม 2516
สร้างนิสัยสุภาพ อ่อนโยน และเอื้อเฟื้อ “เด็กต้องหัดทำตัวให้สุภาพอ่อนโยน หมั่นขยันเอาการเอางาน เอื้อเฟื้อช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความเต็มใจอยู่เสมอให้ติดเป็นนิสัย จักได้เติบโตขึ้นเป็นคนดี มีประโยชน์ และมีความเจริญมั่นคงในชีวิต” พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน1 ธันวาคม 2528
เล่าเรียนความรู้ อบรมความดี ฝึกหัดทำการงานเพื่อที่จะได้เป็นที่พึ่งของตนเองและของคนอื่น “เด็กมีโอกาสดี เพราะอยู่ในวัยที่มีผู้คอยโอบอุ้มช่วยเหลือ จึงต้องรีบเร่งขวนขวายเล่าเรียนความรู้ อบรมความดี ฝึกหัดทำการงานไว้ให้คล่องแคล่ว ขยันและอดทน เติบโตขึ้น จักได้เป็นที่พึ่งของตนเองและของคนอื่นได้ ไม่เดือดร้อน” ภูพานราชนิเวศน์13 พฤศจิกายน 2523
หัดให้รู้ตัวอยู่เสมอ “เด็กๆ ทำอะไรต้องหัดให้รู้ตัว การรู้ตัวอยู่เสมอจะทำให้เป็นคนมีระเบียบ และคนที่มีระเบียบดีแล้ว จะสามารถเล่าเรียนและทำการงานต่างๆ ได้โดยถูกต้องรวดเร็ว จะเป็นคนที่จะสร้างความสำเร็จและความเจริญให้แก่ตนเองแก่ส่วนรวมในอนาคตได้อย่างแน่นอน” พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน12 ธันวาคม 2520
วัยเด็กเป็นวัยของการฝึกอบรมให้มีวิชา ความรู้ รู้จักเหตุผลและความถูกต้อง “การฝึกหัดอบรมตนเองให้มีวิชาความรู้ มีความเฉลียวฉลาดที่จะคิดจะทำด้วยเหตุผลและความถูกต้อง เป็นกิจจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับคนทุกคน เพราะเป็นเหตุสำคัญอย่างเดียวที่จะทำให้มีพลังความสามารถเกิดขึ้นในตัวและจำนำพาชีวิตให้ก้าวหน้าไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง และความสำเร็จในสิ่งที่พอใจปรารถนา วัยเด็กนี้เป็นวัยประเสริฐสุดสำหรับการศึกษาอบรมดังกล่าว เด็กทุกคนจงอย่าปล่อยให้ผ่านไปโดยไร้ประโยชน์” พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน17 พฤศจิกายน 2514
หน้าที่ของเด็กคือศึกษาเล่าเรียน อบรมขัดเกลาความประพฤติและจิตใจ “…คนทุกคนมีหน้าที่ต้องทำ แม้เป็นเด็กก็มีหน้าที่อย่างเด็กคือศึกษาเล่าเรียน หมายความว่าจะต้องเรียนให้รู้วิชา ฝึกหัดทำการงานต่างๆ ให้เป็น อบรมขัดเกลาความประพฤติและความจิตใจให้ประณีต ให้สุจริต แจ่มใส และเฉลียวฉลาด มีเหตุผล เพื่อจักได้เติบโตขึ้นเป็นคนที่มีความรู้ความสามารถและมีประโยชน์ต่อชาติบ้านเมือง…” พระบรมราโชวทพระราชทานเพื่อเชิญลงพิมพ์ในหนังสือวันเด็ก ประจำปี 2542
ความซื่อสัตย์สุจริตเป็นพื้นฐานของความดีทุกอย่าง “…ความซื่อสัตย์สุจริตเป็นพื้นฐานของความดีทุกอย่าง เด็กๆ จึงต้องฝึกฝนอบรมให้เกิดมีขึ้นในตนเอง เพื่อจักได้เติบโตขึ้นเป็นคนดีมีประโยชน์ และมีชีวิตที่สะอาด ที่เจริญมั่นคง…” พระบรมราโชวทพระราชทานเพื่อเชิญลงพิมพ์ในหนังสือวันเด็ก ประจำปี 2541
วัยเด็กเป็นวัยที่สำคัญที่สุดสำหรับการหาความรู้และความดี “วัยเด็กเป็นเวลาสำคัญที่สุดที่จะขวนขวายหาความรู้ความดี ฝึกหัดดัดกายใจให้มีวินัยและมีความสุจริต สำหรับนำพาชีวิตให้ก้าวไปสู่ความสุข ความเจริญและความสำเร็จตามที่พอใจปรารถนา” พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน16 ตุลาคม 2515
ฝึกอบรมให้เป็นผู้ที่พร้อมด้วยดวามดี มีประโยชน์ “เด็กไทยต้องฝึกอบรมธรรมจริยาให้สมบูรณ์พร้อมในตนเอง จักได้เป็นคนดี มีคุณ มีประโยชน์และสามารถรักษาตัวรักษาชาติบ้านเมืองให้ดำรงคงอยู่ด้วยความเจริญมั่นคงต่อไปได้” พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน21 ธันวาคม 2533
ความรู้และความดีนั้นต้องหมั่นกระทำอยู่ตลอดเวลา “เด็กๆ จะต้องรู้ว่าความสุขความสบายมิใช่จะได้มาง่ายๆ เปล่าๆ จะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยการประกอบการงานและความดีต่างๆ ซึ่งต้องพากเพียรกระทำอยู่ตลอดเวลา คนที่ทำตัวไม่ดีไม่หมั่นทำการงาน จะหาความสุขความสบายไม่ได้ เพราะฉะนั้น เด็กทุกคนจะต้องตั้งใจศึกษาเล่าเรียนความรู้ความดีไว้ให้เต็มที่สำหรับช่วยตัวเองให้ได้ดีมีความสุขความเจริญต่อไป” พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน10 พฤศจิกายน 2524
เด็กดีสมควรได้รับการพัฒนา สนับสนุนและส่งเสริม เพื่อให้เติบโตขึ้นเป็นคนดีและตัวอย่างของสังคม “เด็กเป็นอันมากมีความรักดีมาแต่กำเหนิด จะเรียนจะเล่นจะทำสิ่งใด ก็มุ่งมั่นทำให้ดีเด่น ไม่มีปัญหาอุปสรรคหรือความลำบากยากแค้นใดๆ จะกีดกั้นไว้ได้ เด็กเหล่านี้ ผู้ใหญ่ควรสนใจและแผ่เมตตาเกื้อกูลประคับประคองให้ได้มีโอกาสพัฒนาไปในทางที่ถูกที่ดี ทั้งด้านการศึกษาและจิตใจ เขาจักได้เจริญเติบโตเป็นคนดีพร้อม และเป็นตัวอย่างแก่เยาวชนทั่วไป” พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน13 มกราคม 2533
เด็กมีหน้าที่ศึกษาเล่าเรียนเพื่อพัฒนาตนเองทั้งในทางวิชาการและจิตใจ “…คนทุกคนมีหน้าที่ต้องทำ แม้เป็นเด็กก็มีหน้าที่อย่างเด็ก คือ ศึกษาเล่าเรียน หมายความว่าจะต้องเรียนให้รู้วิชา ฝึกหัดทำการงานต่างๆ ให้เป็น อบรมขัดเกลาความประพฤติและความคิดจิตใจให้ประณีต ให้สุจริต แจ่มใส และเฉลียวฉลาดมีเหตุผลเพื่อจักได้เติบโตขึ้นเป็นคนที่มีความรู้ความสามารถและมีประโยชน์ต่อชาติบ้านเมือง…” พระบรมราโชวาทพระราชทานเพื่อเชิญลงพิมพ์ในหนังสือวันเด็ก ประจำปี 2535
ศึกษาว่าอะไรดีและไม่ดีเลือกแต่สิ่งที่ดีมาปฏิบัติ “… วัยเด็กเป็นวัยเริ่มต้น เป็นวัยเตรียมตัวเพื่อสร้างความเจริญมั่นคงในชีวิต เด็กๆ จึงควรรีบขวนขวายศึกษาจักได้ความฉลาดรอบรู้ว่า อะไรคือความดีและอะไรคือความเสื่อมเสีย เพื่อสามารถเลือกเฟ้นหยิบยกเอาแต่สิ่งที่ดีที่งามขึ้นมาประพฤติปฏิบัติ ให้เป็นทางนำชีวิตของตนไปสู่ความสุขความเจริญได้โดยถูกต้องและสมบูรณ์…” พระบรมราโชวาทพระราชทานเพื่อเชิญลงพิมพ์ในหนังสือวันเด็ก ปี พ.ศ. 2527 พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน1 พฤศจิกายน 2526
ความรู้ต้องคู่กับความสุจริต ความบริสุทธิ์ใจและความถูกต้องเป็นธรรม “… การที่จะทำงานให้สัมฤทธิ์ผลที่พึงปรารถนาคือ ที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรมด้วยนั้น จะอาศัยความรู้แต่เพียงอย่างเดียวมิได้ จำเป็นต้องอาศัยความสุจริต ความบริสุทธิ์ใจและความถูกต้องเป็นธรรมประกอบด้วย เพราะเหตุว่าความรู้นั้นเป็นเหมือนเครื่องยนต์ที่ทำให้ยวดยานเคลื่อนไปได้ประการเดียว ส่วนคุณธรรมดังกล่าวแล้วเป็นเหมือนหนึ่งพวงมาลัยหรือหางเสือ ซึ่งเป็นปัจจัยที่นำพาให้ยวดยานดำเนินไปถูกทาง ด้วยความสวัสดีคือปลอดภัยจนบรรลุถึงจุดหมายที่พึงประสงค์ ดังนั้น ในการที่จะประกอบการงานเพื่อตนเพื่อส่วนรวมต่อไป ขอให้ทุกคนสำนึกไว้เป็นนิจ โดยตระหนักว่าการงาน สังคม และบ้านเมืองนั้น ถ้าขาดผู้มีความรู้เป็นผู้บริหารดำเนินการ ย่อมเจริญก้าวหน้าไปได้โดยยากแต่ถ้างานใด สังคมใด และบ้านเมืองใดก็ตาม ขาดบุคคลผู้มีคุณธรรมความดีสุจริตแล้ว จะดำรงอยู่มิได้เลย…” พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยรามคำแหง8 กรกฎาคม 2520
ผู้ที่กำลังศึกษาต้องมีความเพียรและอดทน และมีปัญญาและเหตุผล รู้จักว่าอะไรดี อะไรไม่ดี “…คำว่าเพียรและคำว่าอดทนเป็นคุณสมบัติหรือคุณธรรมที่จะต้องปฏิบัติ โดยเฉพาะผู้ที่กำลังศึกษาเพื่อการศึกษาเพราะว่าการศึกษานี้ หมายความว่าการเรียน การหาความรู้ของผู้ที่ศึกษา ก็เป็นสิ่งที่ยากลำบาก จึงต้องมีความเพียรความอดทน … เราเป็นคน เราเป็นนักศึกษาหรือนักเรียน หรือแม้จะไม่ใช่นักเรียนนักศึกษาก็เรียนอยู่เสมอ ศึกษาอยู่เสมอ … คนเราเรามีปัญญา ควรจะมีปัญญา หมายความว่ามีความเข้าใจ เข้าใจด้วยเหตุผลได้ รู้จักใช้เหตุผล รู้จักเลือกสิ่งที่ดีที่งาม รู้ว่าอันนี้ดี อันนี้ไม่ดี ถูกต้องหรือไม่ถูกต้อง …” พระบรมราโชวาทพระราชทานแก่นักศึกษาของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ณ วิทยาเขตสงขลาวันที่ 25 กันยายน 2521
ไม่ทำตัวทำความคิดให้คับแคบ เมตตา/ไมตรีมนุษยสัมพันธ์ “…หลักการที่สำคัญประการหนึ่งที่จะส่งเสริมให้ปฏิบัติงานสำเร็จและเจริญก้าวหน้าได้แท้จริง คือ การไม่ทำตัวทำความคิดให้คับแคบ หากให้มีเมตตาและไมตรี ยิ่งดีประสานสัมพันธ์กับผู้อื่นโดยเฉพาะผู้ร่วมงานอย่างจริงใจ…” พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย18 กรกฎาคม 2530
ความรู้เป็นเสมือนไฟ ต้องเลือกใช้ให้ถูกต้อง “…ความรู้คือดวงประทีปเปรียบกันได้หลายทาง ดวงประทีปเป็นไฟที่ส่องแสงเพื่อนำทางไป ถ้าใช้ไฟนี้ส่องในทางที่ถูก ก็จะไปถึงจุดหมายปลายทางได้โดยสะดวกเรียบร้อย แต่ถ้าไม่ระวัง ไฟนั้นอาจเผาผลาญให้บ้านช่องพินาศลงได้ ความรู้เป็นแสงสว่างที่จะนำเราไปสู่ความเจริญ ถ้าไม่ระมัดระวังในการใช้ความรู้ ก็จะเป็นอันตรายเช่นเดียวกัน จะทำลายเผาผลาญบ้านเมืองให้ล่มจมได้…” พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์25 ตุลาคม 2505
ทำงานอย่างมีหลัก มีระเบียบ มีเหตุผล เป็นประโยชน์ เป็นธรรมเพียรพยายามอย่างสม่ำเสมอทั้งในการทำงานและการทำความดีศึกษาค้นคว้าให้ลึกซึ้ง/กว้างขวางรอบด้านควบคุมกาย/ใจ “…นอกจากวิชาความรู้ที่เจนจัดแล้ว บุคคลจำเป็นต้องอาศัยคุณสมบัติและความสามารถพิเศษอีกหลายด้านเป็นเครื่องอุดหนุนและส่งเสริมความรู้ของตนด้วย ข้อแรก จะต้องเป็นคนที่ทำตัวทำงานอย่างมีหลักการ มีระเบียบมีเหตุผลที่ถูกต้อง เป็นประโยชน์ เป็นธรรม ข้อสอง ต้องมีความเพียรพยายามอย่างสม่ำเสมอ ทั้งในการทำงานและการทำความดี แม้จะมีความเหนื่อยยากหรือมีอุปสรรคขัดขวางมากมายเพียงใด ก็ไม่ย่อท้อถอยหลัง ข้อสาม ต้องเอาใจใส่ศึกษาค้นคว้าหาวิชาและความรอบรู้ในเรื่องต่างๆ ให้ลึกซึ้งและกว้างขวางรอบด้าน ไว้สำหรับใช้เทียบเคียงประกอบการพิจารณาตัดสินปัญหาต่างๆ ในการงาน ข้อสี่ ซึ่งสำคัญที่สุด ต้องสามารถควบคุมกายใจ คือการกระทำความคิดของตน ให้สงบหนักแน่น แน่วแน่ในความเป็นกลางเสมอแม้ในเวลามีเหตุชวนให้วุ่นวายสับสน ความสามารถทำกายทำใจให้สงบ หนักแน่นเป็นกลาง ห่างจากอคตินี้ จะช่วยให้เกิดสติระลึกรู้ถึงเหตุ ถึงผล ถึงข้อเท็จจริง และความถูกผิดของเรื่องทั้งปวง จึงเป็นอุปการะสำคัญของการคิดพิจารณาปัญหาต่างๆ เพราะช่วยให้มองเห็นปัญหาได้กระจ่างแจ่มชัด สามารถตัดสินชี้ขาดได้โดยถูกต้องเที่ยงธรรม เป็นธรรม เป็นประโยชน์เสมอ…” พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่บัณฑิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์21 กรกฎาคม 2526
ฝึกฝนความเพียรจนเป็นนิสัย ให้เป็นพลัง “….การทำงานใดๆ ไม่ว่าเล็ก ใหญ่ ง่าย ยาก ถ้าย่อหย่อนจากความเพียรแล้ว ยากที่จะให้สำเร็จเรียบร้อยทันเวลาได้ การฝึกฝนความเพียร ถึงหากแรกๆ จะรู้สึกเหน็ดเหนื่อยลำบาก แต่ได้เพียรจนเป็นนิสัยแล้ว ก็จะกลับเป็นพลังอย่างสำคัญที่คอยกระตุ้นเตือนให้ทำงานอย่างจริงจังด้วยใจร่าเริง และเมื่อใดพลังของความเพียรนี้เกิดขึ้น เมื่อนั้นการงานทั้งหลาย ก็สำเร็จได้โดยง่ายดายและรวดเร็ว… พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ21 มิถุนายน 2522
ต้องหมั่นแสวงหาความรู้อยู่เสมอ “… การศึกษาเล่าเรียนเป็นเรื่องที่ไม่มีสิ้นสุด ผู้ปรารถนาความเจริญในการประกอบกิจการงานจะต้องหมั่นเอาใจใส่แสวงหาความรู้ให้เพิ่มพูนอยู่เสมอ มิฉะนั้น จะกลายเป็นผู้ที่ล้าสมัยหย่อนสมรรถภาพไป…” พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์23 กุมภาพันธ์ 2504
ศึกษาความรู้ทางวิชาการ ความรู้ปฏิบัติการและความรู้คิดอ่านตามเหตุผลความเป็นจริงมีความจริงใจและบริสุทธิ์ใจต่องาน/ผู้ร่วมงาน/การรักษาระเบียบแบบแผนความดีงาม หมั่นสำรวจความบกพร่องของตนเองและแก้ไขฝึกฝนให้มีความสงบหนักแน่นทั้งทางกาย ใจและวาจา “…ผู้มุ่งหวังความดีและความเจริญมั่นคงในชีวิต จะต้องไม่ละเลยการศึกษา ความรู้ที่จะศึกษามีอยู่สามส่วน คือ ความรู้วิชาการ ความรู้ปฏิบัติการ และความรู้คิดอ่านตามเหตุผลความเป็นจริง ซึ่งแต่ละคนควรเรียนรู้ให้ครบ เพื่อสามารถนำไปใช้ประกอบกิจการงาน และแก้ปัญหาทั้งปวงได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกประการหนึ่ง จะต้องมีความจริงใจและบริสุทธิ์ใจไม่ว่าในการงาน ในผู้ร่วมงานหรือในการรักษาระเบียบแบบแผนความดีงาม ความถูกต้องทุกอย่าง เพราะความจริงใจนี้เป็นปัจจัยสำคัญในการผดุงและสร้างเสริมความมีสมาฉันท์ ความประสานสามัคคี และความเป็นปึกแผ่นมั่นคงของส่วนรวม ประการที่สาม จำเป็นต้องสำรวจดูความบกพร่องของตนเองอยู่สม่ำเสมอ แล้วพยายามปฏิบัติแก้ไขเสียโดยเร็ว ไม่ปล่อยให้เจริญเติบโตทำความเสื่อมเสียแก่การกระทำและความคิด ประการที่สี่ ต้องฝึกฝนให้มีความสงบหนักแน่นทั้งในกาย ในใจ ในคำพูด เพราะความสงบหนักแน่นเป็นเครื่องผ่อนปรนระงับความรุนแรง ความขัดแย้ง และความไม่เข้าใจในกันและกันได้ทุกกรณี โดยเฉพาะความสงบหนักแน่นในจิตใจนั้น ทำให้เกิดความยั้งคิดพิจารณาตามเหตุตามผล จึงช่วยให้สามารถคบคิดวินิจฉัยเรื่องราวปัญหาและกระทำ ได้ถูกต้อง พอเหมาะพอดี มีประสิทธิผลหลักปฏิบัติที่กล่าว เป็นข้อที่ท่านทั้งหลายพึงรับไว้ศึกษา พิจารณาให้เห็นกระจ่าง และนำไปใช้เป็นแนวทางความประพฤติปฏิบัติ เพื่อนำพาตนให้บรรลุถึงความเจริญมั่นคงที่มุ่งหมาย…” พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหิดล ณ อาคารใหม่สวนอัมพร2 กรกฎาคม 2515
นักวิชาการและผู้ปฏิบัติต้องมีความเข้าใจกันและร่วมมือกัน งานจึงจะสำเร็จ “…งานพัฒนาบ้านเมืองนั้น ต้องอาศัยบุคคลสองประเภท คือ นักวิชาการกับผู้ปฏิบัติ นักวิชาการเป็นผู้วางโครงการ เป็นผู้นำเป็นผู้ชี้ทาง เป็นที่ปรึกษาของผู้ปฏิบัติ ส่วนผู้ปฏิบัติเป็นผู้ลงมือลงแรงกระทำงาน งานจะได้ผลหรือไม่เพียงไรขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลสองฝ่ายนี้ ถ้ามีความเข้าใจและร่วมงานกัน ก็ไม่มีอุปสรรค ได้ผลงานเต็มเม็ดเต็มหน่วย แต่ถ้าหากไม่เข้าใจกันก็เกิดอุปสรรคล่าช้า ซึ่งมักปรากฎอยุ่เสมอ และจำเป็นจะต้องแก้ไข…” พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์16 กรกฎาคม 2513
หากบุคคลหนึ่งประพฤติดี ย่อมส่งผลถึงผู้อื่นและส่วนรวมด้วย “…การบำเพ็ญประโยชน์จะต้องทำที่ตัวเองก่อน ด้วยการประพฤติดี เป็นต้นว่า รักษาระเบียบวินัย รักษาความสัตย์สุจริตขยันหมั่นเพียร ปฏิบัติกิจการงานด้วยความเข้มแข็งหนักแน่นให้จนติดเป็นนิสัย ผลของการทำดีที่เป็นตัวประโยชน์ ก็จะงอกงามขึ้นในตัวผู้ปฏิบัติอย่างเต็มเปี่ยม แล้วจะสะท้อนออกถึงผู้อื่นพลอยให้ผู้อื่นและส่วนรวมได้รับผลดีด้วย…” พระบรมราโชวาทในพิธีปฏิญาณตนและสวนสนามเนื่องในงานวันคล้ายวันสถาปนาคณะลูกเสือแห่งชาติ1 กรกฎาคม 2527
การพัฒนาต่างๆ ต้องใช้ความร่วมมือจากผู้มีความรู้ทุกๆ ฝ่าย “… การพัฒนาประเทศก็ตาม การพัฒนาตนเองก็ตาม จำเป็นที่จะใช้ความร่วมมือ เพราะว่าคนที่มีความรู้ในด้านวิชาการอย่างหนึ่ง ไม่ใช่เป็นคนที่มีความรู้ทุกอย่าง ต้องอาศัยซึ่งกันและกัน ต้องแลกเปลี่ยนความรู้ให้ซึ่งกันและกัน เกื้อกูลซึ่งกันและกัน ไม่ใช่อยู่คนเดียว…” พระบรมราโชวาทพระราชทานแก่คณะบัณฑิตอาสาสมัคร ในโอกาสเข้าเฝ้าฯณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน22 กรกฎาคม 2516
ความรู้ความสามารถทางวิชาการต้องควบคู่กับการขัดเกลาทางร่างกาย จิตใจอย่างถูกต้อง “…การฝึกหัดขัดเกลาทั้งทางร่างกายและจิตใจอย่างถูกต้องเหมาะสม พร้อมกันไปด้วย เพื่อให้ร่างกายและจิตใจที่ได้รับการฝึกหัดขัดเกลาให้แข็งแรง คล่องแคล่ว สะอาดหมดจด ซื่อสัตย์ สุจริต มีเมตตา และเป็นระเบียบแล้วนั้น ได้เป็นรากฐานอันมั่นคง สำหรับรองรับความรู้ความสามารถทางวิชาการต่อไป และจะอุดหนุนส่งเสริมให้แต่ละคนสามารถตัดสินใจใช้วิทยาการทำประโยชน์ช่วยตน ช่วยส่วนรวม ได้อย่างถูกถ้วน…” พระบรมราโชวาทในพิธีปฏิญาณตนและสวนสนามเนื่องในงานวันคล้ายวันสถาปนาคณะลูกเสือแห่งชาติ 1 กรกฎาคม 2525
การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์ความรู้ความคิด และคุณสมบัติและจิตใจที่สมบูรณ์ให้เกิดขึ้นในตัวบุคคล “…การให้การศึกษานั้น กล่าวโดยวัตถุประสงค์ที่แท้จริง คือ การสร้างสรรค์ความรู้ความคิด พร้อมทั้งคุณสมบัติและจิตใจที่สมบูรณ์ ทำให้เกิดขึ้นในตัวบุคคล เพื่อช่วยให้เขาสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมั่นคงและราบรื่น ทั้งสามารถบำเพ็ญประโยชน์สุขเพื่อตนเพื่อส่วนรวมได้ตามควรแก่อัตภาพ…” พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่นิสิตและนักศึกษาวิทยาลัยวิชาการศึกษา ณ วิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร27 พฤศจิกายน 2515
ประเทศชาติจะวัฒนาถาวรเพราะคนในชาติมีความสามัคคี มีระเบียบวินัยดี “… ข้อสังเกตที่ประทับใจข้าพเจ้า ในระหว่างที่อยู่ในประเทศต่างๆ เหล่านี้ ข้อหนึ่งนั้นก็คือ ประเทศไหน ประชาชนพลเมืองมีความสามัคคีกลมเกลียวกันดี มีระเบียบวินัยดี ประเทศนั้นก็เจริญและอยู่ในฐานะดี ยิ่งมีความสมัครสมานกลมเกลียวกันมากก็ยิ่งเจริญมาก จึงเห็นได้ว่าความสามัคคีกลมเกลียวกันในระหว่างคนในชาติ และความเข้าใจรักษาระเบียบวินัยนี้แหละ ย่อมเป็นปัจจัยสำคัญอันหนึ่ง ที่จะช่วยนำประเทศชาติสู่ความวัฒนาถาวร ข้าพเจ้าใคร่ขอฝากข้อคิดนี้ไว้แก่ท่านทั้งหลายด้วย…” พระราชดำรัสเนื่องในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินออกให้ประชาชนเฝ้าฯณ พระที่นั่งอนันตสมาคม19 มกราคม 2504
ทำงานด้วยความสามารถ ความตั้งใจ ด้วยความรู้และสุจริตใจ “… ถ้าอยากได้ความเจริญ ความก้าวหน้า ความอยู่ดีกินดี ก็จะต้องทำงานนั้นด้วยความสามารถเต็มที่ ด้วยความตั้งใจ ด้วยความรู้และความบริสุทธิ์ใจ สุจริตใจ… “ พระราชดำรัสพระราชทานแก่คณะชมรมผู้ค้าทราย3 เมษายน 2522
ผู้จะทำงานให้สำเร็จต้องมีน้ำใจรักงาน ไม่ท้อแท้ เมื่อมีปัญหา ก็ให้คิดหาทางออกด้วยเหตุผลและหลักวิชา “…เมื่อเรียนสำเร็จแล้วก็ถึงเวลาที่จะออกไปทำงานตามความรู้ที่ได้เล่าเรียนมา การทำงานนั้นมีความสำคัญอยู่อย่างหนึ่งคือ จะต้องมีน้ำใจรักงาน จึงจะดำเนินไปโดยสะดวกเรียบร้อยได้ ขอเตือนว่า ผู้ที่เข้าทำงาน เมื่อทำใหม่ๆ มักจะประสบอุปสรรคอยู่เสมอ อุปสรรคเหล่านี้อาจเกิดขึ้นเพราะติดขัดในเรื่องระเบียบวิธีการก็ได้ บางทีเห็นงานบางอย่างบกพร่อง ไม่อยู่กับร่องกับรอย ไม่เห็นตรงกับหลักวิชาที่ได้เรียนมาหรือมีความเห็นขัดแย้งกับผู้ที่ร่วมงาน ทำให้คิดอยากจะแก้ไขปรับปรุง แต่ก็ยากที่จะทำได้ อุปสรรคเหล่านี้ ทำให้หมดความกระตือรือล้นที่จะทำ ทั้งๆ ที่อยากทำ เป็นเหตุให้เกิดความท้อแท้หมดกำลังใจที่จะทำต่อไป ความจริงงานทุกอย่างถ้าทำด้วยน้ำใจรัก ย่อมมีทางสำเร็จและได้ผลดี เมื่อพบอุปสรรคใดๆ อย่าเพิ่งท้อแท้ และหมดกำลังใจง่ายๆ จงตั้งใจทำดี คิดหาทางที่จะแก้ไขผ่อนคลายอุปสรรคต่างๆ ด้วยเหตุผลและหลักวิชา ไตร่ตรองด้วยความสุขุมรอบคอบและเยือกเย็น งานก็จะลุล่วงไปด้วยดี การทำงานด้วยใจรัก ต้องหวังผลงานนั้นเป็นสำคัญ แม้จะไม่มีใครรู้เห็นก็ไม่น่าวิตก เพราะผลสำเร็จนั้นจะเป็นประจักษ์พยานที่มั่นคง ที่พูดเช่นนี้ เหมือนกับสอนให้ปิดทองหลังพระ การปิดทองหลังพระนั้น เมื่อถึงคราวจำเป็นก็ต้องปิด ว่าที่จริงแล้ว คนโดยมากไม่ค่อยชอบปิดทองหลังพระกันนัก เพราะนึกว่าไม่มีใครเห็น แต่ถ้าทุกคนพากันปิดทองแต่ข้างหน้า ไม่มีใครปิดทองหลังพระเลย พระจะเป็นพระที่งามบริบูรณ์ไม่ได้…” พระราชดำรัสในพิธีพระราชปริญญาบัตรแก่นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย25 กรกฎาคม 2506
ส่วนรวมจะอยู่ได้อย่างมั่นคงหากทุกคนยึดมั่นในความดี และช่วยเหลือกัน “… ถ้าทุกคนยึดมั่นในความดี ถ้าทุกคนยึดมั่นว่า เราต้องช่วยกัน และต้องพยายามที่จะปฏิบัติงานของตน ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต ด้วยความตั้งใจดี ด้วยความเอาใจใส่ดีในหน้าที่ของตน เชื่อได้ว่า ส่วนรวมจะอยู่ได้ อย่างมั่นคงและถาวรแน่…” พระราชดำรัสพระราชทานแก่คณะกรรมการสร้างศาลหลักเมืองสมุทรสงคราม7 กรกฎาคม 2518
ธรรมะมีความเที่ยงแท้และไม่ล้าสมัย ผู้ปฏิบัติต้องไม่กลัวว่าจะกระทำในสิ่งที่ล้าสมัย “…ทุกสิ่งทุกอย่างแปรเปลี่ยนไปเป็นธรรมดา สังคมก็เช่นเดียวกันย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามวิวัฒนาการของโลก พระพุทธศาสนานั้น ถ้าหมายถึงคำสั่งสอนที่เที่ยงตรงตามพระพุทธโธวาทแท้ๆ แล้ว ย่อมมีความแน่นอนมั่นคงอยู่ในตัว เช่น ความดีก็เป็นความดี ความชั่วก็เป็นความชั่วและทำดีย่อมได้ดี ทำชั่วย่อมได้ชั่ว อย่างปราศจากข้อสงสัย เหตุนี้ พระธรรมจึงชื่อว่าอกาลิโก คือ ถูกต้องเที่ยงแท้และไม่ประกอบด้วยกาล เหมาะที่จะน้อมนำมาประพฤติปฏิบัติเสมอไม่ว่ากาลไหนๆ ข้อสำคัญชาวพุทธจะต้องขวนขวายศึกษาพุทธธรรมให้ทราบชัด แล้วน้อมนำมาปฏิบัติอย่างจริงจังด้วยการพยายามลดละความโลภ ความโกรธ ความหลง อันเป็นต้นเหตุแห่งการกระทำชั่วกระทำผิด และกล้าที่จะบากบั่นกระทำสิ่งที่เป็นความดี โดยไม่ต้องกลัวว่าจะเป็นสิ่งที่พ้นสมัยหรือน่ากระดากอาย ถ้าชาวพุทธทำได้ดังนี้ ก็จะเป็นเหตุเกื้อกูลอย่างสำคัญ ที่จะช่วยจรรโลงรักษาพระพุทธศาสนาไว้ให้มั่นคงในทุกสถานะและในกาลทุกเมื่อ…” พระบรมราโชวาทพระราชทานแก่ที่ประชุมสมาคมพุทธศาสนาทั่วราชอาณาจักร ครั้งที่ 3915 ธันวาคม 2538
การประหยัดของแต่ละบุคคลย่อมส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของชาติโดยรวม “…ในภาวะทางเศรษฐกิจของประเทศที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ ข้าพเจ้าใคร่จะได้กล่าวถึงความสำคัญของการประหยัด ซึ่งรัฐบาลได้ชักชวนให้แต่ละคนปฏิบัติ คงจะได้ตระหนักอยู่แล้วทั่วกันว่า การใช้จ่ายโดยประหยัดนั้น จะเป็นหลักประกันความสมบูรณ์พูนสุขของผู้ประหยัดเองและครอบครัว ช่วยป้องกันความขาดแคลนในวันข้างหน้า การประหยัดดังกล่าวนี้จะมีผลดีไม่เฉพาะแก่ผู้ประหยัดเท่านั้น ยังจะเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติด้วย ทั้งนี้ โดยที่ประชาชนแต่ละคนเป็นส่วนประกอบของประเทศชาติ ฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศชาติ ก็ขึ้นอยู่ที่ฐานะความเป็นอยู่ของประชาชนพลเมือง ถ้าแต่ละคนทำการประหยัดและช่วยผดุงฐานะของตนเองแล้ว ก็เท่ากับได้มีส่วนช่วยส่งเสริมภาวะทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นส่วนรวม…” พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2525 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์4 สิงหาคม 2526
แต่ละคนต้องปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความเข้มแข็ง และร่วมมือกันทำงาน “…วิธีที่จะปรับปรุงแก้ไขทำให้มีความปลอดภัย ความก้าวหน้าแก่ประเทศชาติ วิธีที่จะทำนั้นก็คือ แต่ละคนต้องปฏิบัติงานของตนด้วยความเข้มแข็งที่สุด โดยไม่เบียดเบียนผู้อื่น แล้วพยายามร่วมมือกัน ถ้าเห็นอะไรสิ่งใดที่ไม่ดีไม่งามให้ช่วยกันปราบปราม หรือช่วยกันแก้ไขด้วยความตั้งใจจริง…” พระราชดำรัสในงานราชอุทธยานสโมสร ณ สวนศิวลัย8 ธันวาคม 2511
มุ่งปฏิบัติแต่กิจการที่สุจริต ที่เป็นประโยชน์ประสานประโยชน์และความเจริญก้าวหน้าของแต่ละคนเข้าด้วยกัน ไม่เล็งประโยชน์เฉพาะตัวมากเกินไป “… ความเจริญมั่นคงของส่วนรวมนั้นต้องอาศัยความเจริญมั่นคงของแต่ละบุคคลเป็นสำคัญ ดังนั้นถ้าบุคคลอันเป็นองค์ประกอบของส่วนรวม ไม่มีความเจริญและมั่นคงแล้ว ส่วนรวมจะเจริญและมั่นคงไม่ได้แต่ละคนจึงควรจะมุ่งสร้างความมั่นคงให้แก่ฐานะและสร้างความก้าวหน้าให้แก่การงานของตัวเป็นข้อแรกและข้อใหญ่แต่ในการนั้น จำเป็นจะต้องถือหลักปฏิบัติสำคัญสองข้ออย่างเคร่งครัด คือ ข้อแรกจะต้องมุ่งหมายกระทำแต่เฉพาะกิจการที่สุจริต ที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรมด้วยเท่านั้น จะต้องไม่ประพฤติปฏิบัติการสิ่งใด ที่ทวนกระแสความถูกต้องเป็นธรรม และบ่อนทำลายผู้อื่นเป็นเด็ดขาด ครั้นเมื่อทำดีมีผลแล้ว ข้อต่อไป จะต้องมุ่งหมายที่จะประสานประโยชน์และความเจริญก้าวหน้าของแต่ละคนเข้าด้วยกัน ด้วยความมุ่งดีมุ่งเจริญ ไม่เพ่งเล็งประโยชน์เฉพาะตัวมากเกินไป จนปิดบังมิให้เห็นความสำคัญของผู้อื่น เมื่อตั้งตัวตั้งใจให้มั่นคงเหนียวแน่นอยู่ในหลักการ ดังนี้ ก็เป็นอันหวังได้แน่นอนว่าจะสามารถสร้างหลักฐานความเจริญให้แก่ตัว พร้อมทั้งเสริมสร้างส่วนรวมให้มีความผาสุกมั่นคงเพิ่มพูนขึ้นด้วยได้…” พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2525 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์4 สิงหาคม 2526
มรดกของชาติที่ทำให้ประเทศไทยอยู่รอดมาได้ คือ ความสามัคคีและความเป็นไทย “…ความสามัคคีและความถือตัวว่าเป็นไทยเป็นสมบัติมีค่าสูงสุด เพราะเป็นมรดกที่เราได้รับสืบต่อจากบรรพบุรุษและเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เรารวมอยู่ได้ ให้เราดำรงชาติประเทศและเอกราชสืบได้ ทุกคนจะต้องรักษาความเป็นไทยและความสามัคคีนี้ไว้ให้มั่นคง…” พระบรมราโชวาทพระราชทานสามัคคีสมาคม ในพระบรมราชูปถัมภ์เพื่อเชิญไปอ่าน ในการประชุมใหญ่ประจำปี ครั้งที่ 562-10 สิงหาคม 2512
ไม่ท้อใจต่อการทำความดี “…ถ้าเราทำกรรมดี ทำต่อไป อย่าไปท้อใจว่า ทำดีเท่าไรๆ ไม่เห็นได้อะไรเลย หารู้ไม่ว่า ต่อไปนะ ไม่แน่ บางทีภายในวินาทีเดียวก็ได้แล้ว…” พระราชดำรัสพระราชทานแก่คณะชาวพุทธ แขวงห้วยขวาง เขตพญาไท21 กรกฎาคม 2518
มีหลักใจอันมั่นคง มีศรัทธา ปฏิบัติตนในทางที่เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม “…ประเทศชาติกำลังพัฒนาในทุกด้าน และต้องการความสามัคคี ความสงบเรียบร้อย ผลดีทั้งปวงดังกล่าวจะเกิดขึ้นด้วยประชาชนมีหลักของใจอันมั่นคง มีศรัทธาและปัญญาอันถูกต้อง และปฏิบัติตนอยู่ในทางที่เป็นประโยชน์แก่ส่วนรวม กรณียกิจอันสำคัญ คือ การส่งเสริมประชาชนให้มีพระรัตนตรัยและธรรมในพระพุทธศาสนาเป็นหลักของใจและความประพฤติด้วยศรัทธาและปัญญาที่ถูกต้อง… พระบรมราโชวาทในพิธีเปิดประชุมใหญ่ ครั้งที่ 17 ของสมาคมพุทธศาสนาทั่วราชอาณาจักร ณ ศาลาการเปรียญ บนภูสิงห์ อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์17 ธันวาคม 2512
ชาติไทยอยู่รอดมาได้เพราะคนไทยใช้สติปัญญา ความสามารถ และความดีเป็นที่ตั้ง “…คนไทยรักษาชาติรักษาแผ่นดินเป็นปึกแผ่นมั่นคงมาได้ด้วยสติปัญญาความสามารถ และด้วยคุณความดี อิสรภาพ เสรีภาพ ความร่มเย็นเป็นสุข ตลอดจนความเจริญทุกอย่างที่มีอยู่บัดนี้ บรรพชนของเรา ผู้มีความสำนึกตระหนักในความเป็นไทย และมีความอุตสาหะพากเพียร พร้อมทั้งความกล้าหาญเสียสละเป็นผู้สร้างสมไว้ให้ทั้งนั้น เราทั้งหลายในปัจจุบันจึงต้องถือเป็นหน้าที่รับผิดชอบอย่างสำคัญ ในอันที่จะรักษาคุณความดีพร้อมทั้งจิตใจที่เป็นไทยนั้นไว้ให้หนักแน่นมั่นคง และสืบทอดกันต่อไปไม่ให้ขาดสาย ชาติประเทศจึงจะธำรงอยู่เป็นไทยตลอดไป ขอทุกคนทุกฝ่ายจงรวมกำลังกายใจกันให้พร้อมเพรียง เพื่อสร้างเสริมพลังแห่งความดีของเราให้เพิ่มพูนแน่นแฟ้นยิ่งๆ ขึ้น แล้วเร่งรัดปฏิบัติสรรพกิจการงานบรรดามี ด้วยความสุจริตและบริสุทธิ์ใจโดยขะมักเขม้นให้ดำเนินก้าวหน้าไปโดยสอดคล้องและเกื้อกูลกันทุกๆ ส่วน…” พระราชดำรัสในการเสด็จออกมหาสมาคม ในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม 2521
ปฏิบัติตนถูกต้องตามระเบียบ ตามกฎหมาย “…บ้านเมืองจะมีความเรียบร้อย ความมั่นคง ก็ต่อเมื่อประชาชนสามารถปฏิบัติงาน ปฏิบัติตนถูกต้องตามระเบียบของบ้านเมือง ตามกฎหมาย ช่วยบ้านเมืองให้มีระเบียบเรียบร้อยและเจริญ ถ้าบ้านเมืองมีความเจริญและมีความมั่นคง มีความเป็นระเบียบ มีขื่อมีแป ก็จะทำให้บุคคลอยู่ได้…” พระบรมราโชวาทพระราชทานแก่คณะกรรมการสมาคมบัณฑิตสตรีทางกฎหมายแห่งประเทศไทย ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน8 กุมภาพันธ์ 2514
รักษาสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตให้แข็งแรงสมบูรณ์ “… การรักษาความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกายเป็นปัจจัยของเศรษฐกิจที่ดีและสังคมที่มั่นคง เพราะร่างกายที่แข็งแรงนั้น โดยปกติ จะอำนวยผลให้สุขภาพจิตสมบูรณ์ด้วย และเมื่อมีสุขภาพสมบูรณ์ดีพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจแล้ว ย่อมมีกำลังทำประโยชน์ สร้างสรรค์เศรษฐกิจและสังคมของบ้านเมืองได้เต็มที่ ทั้งไม่เป็นภาระแก่สังคมด้วย คือ เป็นแต่ผู้สร้าง มิใช่ผู้ถ่วงความเจริญ…” พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยมหิดล22 ตุลาคม 2522
ผู้ที่มีความเจริญและความสำเร็จต้องมีความจริงใจต่อผู้อื่น “… ความจริงใจต่อผู้อื่นเป็นของสำคัญมากสำหรับผู้ที่ต้องการความสำเร็จและความเจริญ เพราะสามารถกำจัดปัญหาได้มากมาย โดยเฉพาะปัญหาอันเกิดจากความกินแหนงแคลงใจเอารัดเอาเปรียบกัน และคนที่จริงใจต่อผู้อื่นนั้นย่อมได้รับความนิยมเชื่อถือไว้วางใจ ร่วมมือสนับสนุนจากสาธุชนอยู่เสมอ จะทำการสิ่งใดก็สำเร็จและราบรื่น ท่านจึงสอนให้รักษาความจริงใจในกันและกันไว้ทุกเมื่อ นอกจากความจริงใจต่อผู้อื่นแล้ว ยังมีความจริงใจต่อตนเองอีกประการหนึ่ง ซึ่งจะต้องรักษาให้มั่นคงและให้ยิ่งขึ้นไป…””…ในจิตใจของคนไทยทุกคน มีเชื้อของความดี ที่ได้นำพวกเราทั้งหลายมาอยู่ในฐานะที่มั่นคงที่ก้าวหน้า ที่เจริญ จนทุกวันนี้ ถ้าเราไม่มีความดีอยู่ในตัว ก็เข้าใจว่า ประเทศไทยคงไม่ได้มีอายุยืนนานเช่นนี้…” พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานธงประจำรุ่นลูกเสือชาวบ้าน จังหวัดเชียงใหม่24 กุมภาพันธ์ 2522
ความรู้ในด้านจิตใจและด้านวัตถุเป็นสิ่งที่สำคัญและแยกกันไม่ได้ “…คนเราต้องมีศาสนา คือ ความคิดหรือสิ่งที่คิดประจำใจอันเป็นแนวทางปฏิบัติในใจประจำตัว และต้องมีการศึกษา คือความรู้ต่างๆ ทั้งในด้านจิตใจ ทั้งในด้านวัตถุ เพื่อประกอบกับตัว เพื่อที่จะมีชีวิตอยู่ได้ ทั้งสองอย่างเป็นสิ่งที่สำคัญและเป็นสิ่งที่จะแยกกันไม่ได้…” พระราชดำรัสพระราชทานแก่ผู้แทนองค์การศาสนาและผู้แทนสถาบันการศึกษาต่างๆ ที่เข้าเฝ้าถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในการเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาผกาภิรมย์4 ธันวาคม 2512
คนไทยทุกคนมีหน้าที่รักษาความเป็นไทยทั้งในใจและทั้งในหมู่คณะและชาติคนไทยต้องสามัคคีช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีความเข้าใจกัน “…คนไทยทุกคนไม่ใช่อยู่ที่ธงที่จะปลิวสะพัดอยู่ข้างหน้า อยู่ที่ใจที่เป็นไทย ที่รู้ว่าประเทศไทยนี้มีความสำคัญอย่างไรได้อยู่เป็นเอกราชมาเป็นเวลานับร้อยๆ ปี และได้อำนวยให้เรามีความสุขมีเกียรติได้และจะมีเกียรติได้อีกต่อไป ฉะนั้น ก็ขอให้ทุกคนระลึกถึงว่า ทุกคนมีหน้าที่ทั้งนั้นที่จะรักษาความเป็นไทยนี้ไว้ ทั้งในใจ และทั้งในหมู่คณะ ทั้งชาติ การที่ลูกเสือชาวบ้านได้มาฝึกฝนตนเองและเป็นผลดี นั้น ก็คือ เริ่มต้นด้วยตนเอง ตนเองฝึกตนเอง ให้มีความสามารถต่อไป ได้ฝึกให้หมู่ของตน คือ หมู่บ้านของตนได้มีความเป็นปึกแผ่นด้วยความสามัคคี วิธีที่จะให้ชาติบ้านเมืองมีความเป็นปึกแผ่นก็คือ หมู่ต่างๆ ทั้งหลายตั้งแต่บุคคลขึ้นไปขึ้นเป็นหมู่บ้าน เป็นตำบล เป็นอำเภอ เป็นจังหวัด เป็นภาค ตลอดจนเป็นประเทศ จะต้องรู้สึกว่า ต้องสามัคคีช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เกื้อหนุนซึ่งกันและกัน มีความเข้าใจซึ่งกันและกันโดยแท้จริง จึงจะทำให้บ้านเมืองของเราอยู่ได้ และทำไมจึงจะต้องทำให้บ้านเมืองเราอยู่ได้ ก็เพราะว่า คนเราต้องมีที่อยู่ ต้องมีที่ยืนอยู่ มิฉะนั้นก็ไม่มีทางที่จะมีชีวิต จะมีความปลอดภัยความมั่นคงได้ ถ้าขาดแผ่นดินแล้วเราไม่สามารถที่จะมีชีวิตอยู่ ฉะนั้น ก็ขอให้ทุกคนระลึกถึงข้อนี้ให้ลึกซึ้ง และช่วยกันรักษาความเป็นปึกแผ่นของชาติบ้านเมืองด้วยความสามัคคี ด้วยความระลึกถึง ด้วยความรับผิดชอบที่จะทำงานทำการ ที่จะช่วยด้วยความบริสุทธิ์ใจ สุจริตใจ ถ้าทำเช่นนี้แล้ว ทุกคนก็ได้ช่วยกันสร้างความเจริญมั่นคงแก่ส่วนรวม เท่ากับได้ทำความเจริญมั่นคงแก่ตนเอง…” พระราชดำรัสพระราชทานในพิธีพระราชทานธงประจำรุ่นลูกเสือชาวบ้าน ณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา8 กรกฎาคม 2518
การสร้างสรรค์ประโยชน์ต่างๆ จะต้องทำเพื่อผู้อื่นและส่วนรวม นอกจากตนเองด้วย “…การสร้างสรรค์ประโยชน์ต่างๆ ให้เกิดขึ้นนั้น จะต้องทำเพื่อผู้อื่นและส่วนรวม นอกจากตนเองด้วย ยิ่งทำให้กว้างขวางได้เท่าใดก็ยิ่งดีขึ้นเท่านั้น เพราะประโยชน์ที่ถูกต้องแท้จริงในโลกมีสองประการคู่กันเสมอ คือ ประโยชน์ส่วนตัวกับประโยชน์ส่วนรวม คนที่มุ่งแต่ประโยชน์ส่วนตัวจัดว่าเป็นคนไม่สามารถแท้ ซึ่งใครๆ ก็ตามจะไม่สรรเสริญ ขอให้พยายามร่วมกันทำตัวทำงานให้ได้ดังที่กล่าว ผลดีที่ทุกคนมุ่งประสงค์จะเกิดแก่ชาติบ้านเมืองของเราได้มากมายเกินกว่าที่จะคาดคิด…” พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์11 กันยายน 2523
ประเทศชาติเจริญได้เพราะทุกคนร่วมกันทำงานและ แบ่งงานกันทำตามความสามารถ “… ความเจริญของประเทศชาติเป็นความเจริญส่วนรวม ซึ่งเกิดจากผลงานหรือผลของการกระทำของคนทั้งชาติ ถือได้ว่า ทุกคนแบ่งหน้าที่กันทำประโยชน์ให้แก่ชาติ ตามความถนัดและความสามารถและต่างคนต่างก็ได้เกื้อกูลกันและกัน ไม่มีผู้ใดจะอยู่ได้และทำงานให้แก่ประเทศชาติได้โดยลำพังตนเอง…” พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย10 กรกฎาคม 2513
ชาติมั่นคงเพราะทุกคนในชาติยึดมั่นในบ้านเมือง มีความเข้มแข็งพร้อมทั้งกายใจ “…ถ้าทุกคนในชาติ มีความยึดมั่นในบ้านเมือง มีความเข้มแข็งพร้อมทั้งกายใจ ก็จะสามารถร่วมกันทำงานของชาติได้โดยเต็มกำลัง และชาติไทยของเราจะดำรงมั่น มีความเจริญผาสุกและมีอิสรภาพ อธิปไตยอันสมบูรณ์อยู่ตลอดไป…” พระบรมราโชวาทพระราชทานแก่ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ ตำรวจ และอาสาสมัครพลเรือนในพิธีตรวจสวนสนาม8 มิถุนายน 2514
ชาติจะสงบหากคนในชาติไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน “… เมืองไทยถึงอย่างไรทุกวันนี้ อ่านหนังสือพิมพ์ ดูทีวี เห็นมีการฆ่ากันทำลายล้างกันทั่วโลก ซึ่งมีทุกวันไม่มีเว้นแต่เมืองไทยยังมีความสงบ จึงขอให้ทุกคนช่วยกัน อย่าเบียดเบียนซึ่งกันและกัน เมืองไทยก็จะสงบได้ตามอัตภาพ… คือเมืองไทย อาจจะไม่รุ่งเรืองที่สุดในโลก ฟู่ฟ่าที่สุดในโลก แต่เมืองไทยก็เป็นประเทศที่สงบ เพราะในโลกนี้หายากแล้ว เมืองไทยเป็นประเทศที่มีคนช่วยเหลือซึ่งกันและกันตลอดเวลา ก็จะเป็นที่หนึ่งในโลกเอง…” พระราชดำรัสในวโรกาสให้นายขวัญ แก้ว วัชโรทัย ประธานบริหารมูลนิธิราชประชานุเคราะห์เบิกตัวผู้เข้ารับพระราชทานโล่และตราสัญลักษณ์งานเฉลิมฉลองปีกาญจนาภิเษกเข้าเฝ้าฯ 22 เมษายน 2539
หลักการทำงานสร้างศรัทธาความเชื่อถือในงานที่กระทำไม่ประมาทรักษาความจริงใจต่อผู้อื่นและตัวเองกำจัดจิตใจที่ต่ำทรามรู้จักสงบใจ “…การทำการงานสร้างเกียรติยศชื่อสร้างและความเจริญก้าวหน้า นอกจากจะต้องใช้วิชาความรู้ที่ดีแล้ว แต่ละคนยังต้องมีจิตใจที่มั่งคงในความสุจริต และมุ่งมั่นต่อความสำเร็จเป็นรากฐานรองรับ กับต้องอาศัยกุศโลบาย หรือวิธีการอันแยบคายในการประพฤติปฏิบัติเข้าประกอบอีกหลายประการ ประการแรก ได้แก่ การสร้างศรัทธาความเชื่อถือในงานที่กระทำ ซึ่งเป็นพละกำลังส่งเสริมให้เกิดความพอใจและความเพียรพยายามอย่างสำคัญ ในอันที่จะทำการงานให้บรรลุผลเลิศ ประการที่สอง ได้แก่การไม่ประมาท ปัญญาความรู้ความฉลาดสามารถ ทั้งของตนเองและผู้อื่น ซึ่งเป็นเครื่องช่วยให้ทำงานได้ก้าวหน้าก้าวไกล ประการที่สามได้แก่ การรักษาความจริงใจ ทั้งต่อผู้อื่น ทั้งต่อตัวเอง ซึ่งเป็นเครื่องทำให้ไว้วางใจร่วมมือกัน และทำให้งานสำเร็จได้โดยราบรื่น ประการที่สี่ ได้แก่การกำจัดจิตใจที่ต่ำทราม รวมทั้งสร้างเสริมความคิด จิตใจที่สะอาดเข้มแข็ง ซึ่งจะช่วยให้ฝักใฝ่แต่ในการที่จะปฏิบัติดี ให้เกิดความก้าวหน้า ประการที่ห้า ได้แก่ การรู้จักสงบใจ ซึ่งเป็นเครื่องช่วยให้ยั้งคิดในเมื่อมีเหตุผลทำให้เกิดความหวั่นไหวฟุ้งซ่าน และสามารถพิจารณาแก้ไขปัญหาได้โดยถูกต้อง คุณสมบัติหรือคุณธรรมที่กล่าวแล้ว ทั้งที่เป็นส่วนรากฐาน ทั้งที่เป็นส่วนวิธีการ ต่างเป็นเหตุเป็นผลอาศัยกัน และเกื้อกูลส่งเสริมกันอยู่ทั้งหมด จะอาศัยเพียงข้อหนึ่งข้อใด หรือเพียงบางส่วนบางข้อมิได้ เพราะจะไม่ช่วยให้เกิดผล หรือได้ผลน้อย ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องพยายามอบรมสร้างเสริม ให้บริบูรณ์ขึ้นแต่ละข้อและทุกข้อ เมื่อคุณสมบัติดังกล่าวประชุมพร้อมกันขึ้นแล้ว จึงจะบันดาลผลเลิศให้เกิดขึ้นสมบูรณ์บริบูรณ์ เป็นประโยชน์ช่วยตัว ช่วยผู้อื่นได้อย่างแท้จริง…” พระบรมราโชวาทพระราชทานแก่ข้าราชการพลเรือนเนื่องในวันข้าราชการพลเรือน1 เมษายน 2526
การดำรงรักษาชาติเป็นหน้าที่ของทุกๆ คน ไม่ใช่ของบุคคลใดโดยเฉพาะ “…ชาติบ้านเมือง คือ ชีวิตเลือดเนื้อและสมบัติของเราทุกคน และการดำรงรักษาชาติประเทศนั้น มิใช่หน้าที่ของบุคคลผู้ใดหมู่ใดโดยเฉพาะ หากแต่เป็นหน้าที่ของทุกๆ ฝ่าย ทุกๆ คน ที่จะต้องร่วมมือกระทำพร้อมกันไปโดยสอดคล้องกัน เกื้อกูลกัน และมีจุดมุ่งหมาย มีอุดมคติร่วมกัน ถ้าหมู่หนึ่งหมู่ใดทำหน้าที่ย่อหย่อน เป็นอันตรายไป ก็อาจทำให้ทั้งชาติแตกสลายทำลายไปได้…” พระบรมราโชวาทพระราชทานแก่ทหารบก ทหารเรือทหารอากาศ ตำรวจและอาสาสมัครพลเรือนในพิธีตำรวจสวนสนามเนื่องในโอกาสงานพระราชพิธีรัชดาภิเษก
ชาติจะมั่นคงปลอดภัยได้ คนในชาติจะต้องอยู่ดีกินดี มีสุข ทั้งนี้ โดยคนในชาติต้องมีความสามัคคี และปฏิบัติหน้าที่ของตนให้สำเร็จลุล่วงโดยเร็ว “…เราทั้งหลาย เป็นผู้ร่วมอยู่ในชาติ ในประเทศไทยนี้ ด้วยกันทุกคน ดังนั้น การที่แต่ละคนจะมีความสุขความเจริญอย่างแท้จริงได้ จะต้องให้บ้านเมืองมีความมั่นคงปลอดภัย และให้ประชาราษฎร์อยู่ดีกินดี มีปกติสุขเป็นส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน ความมั่นคงปลอดภัยและความเป็นปกติสุขนั้นจะเกิดมีขึ้นได้ ก็โดยการที่ท่านทั้งหลายทุกฝ่าย ทุกคน สมัครสมานสามัคคีกันโดยพร้อมเพรียง ร่วมกายร่วมใจกันเร่งรัดปฏิบัติสรรพกิจการงานบรรดามี ด้วยความสุจริตและบริสุทธิ์ใจ โดยขะมักเขม้นให้งานทั้งปวงดำเนินก้าวหน้าไปโดยสอดคล้องต่อเนื่องไม่ติดขัด และเกื้อกูลกันทุกๆ ส่วน ฉะนั้น ไม่ว่าท่านจะมีภาระหน้าที่อันใดอยู่ จะเป็นงานส่วนใหญ่ส่วนน้อยอย่างไรก็ตาม ควรจะต้องพยายามตั้งใจปฏิบัติให้ลุล่วงไปโดยพลัน โดยเต็มความสามารถปรารภประโยชน์ของชาติบ้านเมืองเป็นสำคัญ ด้วยสติที่มั่นคง และด้วยปัญญาที่กระจ่างแจ้งแจ่มใสปราศจากอคติ เมื่อจะวินิจฉัยตัดสินปัญหาใดๆ ก็ให้กระทำด้วยเหตุผล และความสุขุมรอบคอบ ระมัดระวัง เพื่อให้ภาระทุกอย่างที่ทำบรรลุผลสมบูรณ์ตามจุดประสงค์ จักได้สำเร็จประโยชน์เป็นความเจริญมั่นคงแก่ประเทศชาติอย่างแท้จริงยั่งยืนไป พระราชดำรัสในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ในพระบรมมหาราชวัง5 ธันวาคม 2526
คุณธรรม 4 ประการรักษาความสัจความจริงใจ ประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์เป็นธรรมรู้จักข่มใจตนเองอดทนอดกลั้นและอดออม ละวางความชั่ว สละประโยชน์ส่วนตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวม “… การรักษาอิสรภาพและความเป็นไทยให้ดำรงมั่นคงยืนยาวได้ ถือว่าเป็นกรณียกิจสำคัญสูงสุด นอกจากต้องอาศัยการบริหารประเทศที่ฉลาดสามารถและสุจริตเป็นธรรมแล้ว ยังต้องอาศัยความร่วมสนับสนุนจากประชาชนทั้งประเทศด้วย คือ ประชาชนแต่ละคนจะต้องขวนขวายสร้างสรรค์ประโยชน์ และดำรงอยู่ในคุณธรรมอันสมควรแก่ฐานะของตนๆ คุณธรรมที่ทุกคนควรจะศึกษาและน้อมนำมาปฏิบัติมีอยู่สี่ประการ ประการแรก คือ การรักษาความสัจความจริงใจต่อตัวเองที่จะประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรม ประการที่สอง คือ การรู้จักข่มใจตนเองฝึกใจตนเองให้ประพฤติอยู่ในความสัจความดีนั้น ประการที่สาม คือ การอดทนอดกลั้น และอดออม ที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัจสุจริตไม่ว่าจะด้วยเหตุประการใด ประการที่สี่ คือ การรู้จักละวางความชั่ว ความทุจริต และรู้จักสละประโยชน์ส่วนน้อยของตนเพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง คุณธรรมสี่ประการนี้ ถ้าแต่ละคนพยายามปลูกฝังและบำรุงให้เจริญงอกงามขึ้นโดยทั่วกันแล้ว จะช่วยให้ประเทศชาติบังเกิดความสุขความร่มเย็น และมีโอกาสที่จะปรับปรุงพัฒนาให้มั่นคงก้าวหน้าต่อไปได้ดังประสงค์…” พระราชดำรัสในพระราชพิธีบวงสรวงสมเด็จ พระบูรพมหากษัตริยาธิราชเจ้าณ ท้องสนามหลวง5 เมษายน 2525
ความสัตย์สุจริตต่อบ้านเมือง ต่อประชาชนและต่อหน้าที่ “…ข้าพเจ้าขอฝากคติไว้เป็นเครื่องกำกับใจ มีคุณธรรมข้อหนึ่งที่สำคัญ ซึ่งท่านต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัดอยู่เสมอ คือ ความสัตย์สุจริต ประเทศบ้านเมืองจะวัฒนาถาวรอยู่ได้ ก็ย่อมอาศัยความสัตย์สุจริตเป็นพื้นฐานขอให้มั่นอยู่ในคุณธรรมทั้ง 3 ประการ คือ สุจริตต่อบ้านเมือง สุจริตต่อประชาชน และสุจริตต่อหน้าที่ ท่านจึงจะเป็นผู้ที่ควรแก่การสรรเสริญของมวลชนทั่วไป…” พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย12 มิถุนายน 2497
การประกอบกิจการงานควรคำนึงถือสภาพความเป็นอยู่ของท้องที่และถึงผลสะท้อนอันอาจมีขึ้น “…ในการที่จะเอาหลักวิชาที่ได้เล่าเรียนไปใช้เพื่อประกอบกิจการงานต่อไปนั้น ควรจะคำนึงถึงสภาพความเป็นอยู่ของท้องที่ และถึงผลสะท้อนอันอาจมีขึ้นโดยเฉพาะในประการต่างๆ จะได้เป็นหลักประกันว่า กิจการงานที่จะทำขึ้นนั้น ได้พิจารณาศึกษาโดยรอบคอบในทุกๆ ด้านแล้ว ชอบด้วยหลักปฏิบัติที่เหมาะสมกับสภาพและความต้องการของประเทศเรา…” พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรและอนุปริญญาบัตรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์11 กรกฎาคม 2500
คนต่างกับสัตว์ตรงที่คนมีความรู้และปัญญาที่จะนำความรู้ไปใช้ในทางที่ถูกต้อง “…ข้าพเจ้าใคร่จะพูดถึงเรื่องความเป็นคน คนเรานั้นจะว่าไปก็เป็นสัตว์ชนิดหนึ่งในบรรดาสัตว์ทั้งหลาย แต่มีการแตกต่างกันหลายประการ ประการที่สำคัญที่สุดก็คือ ความรู้ … นอกจากความรู้ที่ได้รับมาตามธรรมชาติแล้ว ยังมีสติปัญญาที่จะค้นคว้าหาความรู้สืบต่อกันมาแต่บรรพบุรุษ มีตำรับตำราเป็นอันมาก ซึ่งได้เขียนไว้ให้คนชั้นหลังได้เรียนรู้ถึงวิชาการและขนบธรรมเนียมประเพณีอันชอบด้วยศีลธรรมปัญญานี้แหละ เป็นสิ่งสำคัญที่คนจะต้องนำไปใช้ในทางที่ดีที่ชอบ ประกอบกับตำราและขนบธรรมเนียมประเพณีอันมีมาแต่โบราณกาลนั้น แต่ถ้านำเอาปัญญาไปใช้ในทางที่มิชอบปราศจากศีลธรรม คนก็จะเลวกว่าสัตว์…” พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย3 กรกฎาคม 2501
การทำความดีของแต่ละคนย่อมส่งผลดีอย่างแน่นอน ดังนั้น จึงไม่ควรท้อถอย ทำจิตใจให้มั่นคง “….การทำความดีนั้น สำคัญที่สุดอยู่ที่ตัวเอง ผู้อื่นไม่สำคัญ และไม่มีความจำเป็นอันในที่จะต้องเป็นห่วงหรือต้องรอคอยเขาด้วย เมื่อได้ลงมือลงแรงกระทำแล้ว ถึงแม้จะมีใครร่วมมือด้วยหรือไม่ก็ตาม ผลดีที่ทำจะต้องเกิดขึ้นแน่นอน และยิ่งทำมากเข้านานเข้ายั่งยืนเข้า ผลดีก็ยิ่งเพิ่มพูนมากขึ้น และแผ่ขยายกว้างออกไปทุกที คนที่ไม่เคยทำดีเพราะเขาไม่เคยเห็นผล ก็จะได้เห็นและหันเข้ามาตามอย่าง หลักประกันสำคัญในการทำดีจึงอยู่ที่ว่า แต่ละคนต้องทำใจให้มั่นคง ไม่หวั่นไหวกับสิ่งแวดล้อมที่เห็นอยู่ทราบอยู่มากเกินไป จนเกิดความท้อถอย เมื่อใจมั่นคงแล้ว ก็ขอให้ตั้งอกตั้งใจสร้างนิมิตและค่านิยมใหม่ขึ้นสำหรับตัว ตามที่พิจารณาเห็นดีด้วยเหตุผลอันถูกต้องเที่ยงตรงแล้ว แล้วมุ่งหน้าปฏิบัติดำเนินไปให้เต็มกำลังจนบรรลุผลสำเร็จ ในที่สุด ความดีความเจริญที่ปรารถนาก็จะเกิดทวีขึ้น และจะเอาชนะความเสื่อมทรามต่างๆ ได้ไม่นานเกินรอ…” พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์20 ตุลาคม 2521
นอกจากความรู้แล้ว ต้องมีความรู้จักผิดชอบชั่วดี ความละอาย ความซื่อสัตย์สุจริต ไม่เห็นแก่คัว และความขยันหมั่นเพียร “…คนเราจะแสวงหาแต่วิชาการฝ่ายเดียวไม่ได้ ผู้มีวิชาการจำเป็นจะต้องมีคุณสมบัติในตัวเอง นอกจากวิชาความรู้ด้วย จึงจะนำตนนำชาติให้รอดและเจริญได้ คุณสมบัติพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับทุกคนนั้น ที่สำคัญได้แก่ความรู้จักผิดชอบชั่วดี ความละอายชั่วกลัวบาป ความซื่อสัตย์สุจริต ทั้งในความคิดและการกระทำ ความไม่เห็นแก่ตัว ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น ความไม่มักง่าย หยาบคาย กับอีกอย่างหนึ่งที่สำคัญเป็นพิเศษ คือ ความขยันหมั่นเพียร พยายามฝึกหัดประกอบการงานทุกอย่างด้วยตนเอง ด้วยความตั้งใจ ไม่ละเลย ไม่ทอดทิ้ง คุณสมบัติเหล่านี้เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ที่จะทำให้การศึกษาสมบรูณ์เป็นประโยชน์จริง…” พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ22 มิถุนายน 2522
ความฉลาดรู้ คือ รู้จริง มีจิตใจที่ตั้งมั่น เที่ยงตรงเป็นกลาง ไม่มีอคติ “…การศึกษาหาความรู้จึงสำคัญตรงที่ว่า ต้องศึกษาเพื่อให้เกิด “ความฉลาดรู้” คือรู้แล้วสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้จริงๆ โดยไม่เป็นพิษเป็นโทษ การศึกษาเพื่อความฉลาดรู้ มีข้อปฏิบัติที่น่าจะยึดเป็นหลักอย่างน้อยสองประการ ประการแรก เมื่อจะศึกษาสิ่งใดเรื่องใดให้รู้จริง ควรจะได้ศึกษาให้ตลอด ครบถ้วนทุกแง่ทุกมุม ไม่ใช่เรียนรู้แต่เพียงบางส่วนบางตอน หรือเพ่งเล็งเฉพาะแต่บางแง่บางมุม อีกประการหนึ่ง ซึ่งจะต้องปฏิบัติประกอบพร้อมกันไปด้วยเสมอ คือต้องพิจารณาศึกษาเรื่องนั้นๆ ด้วยความคิดจิตใจที่ตั้งมั่นเป็นปรกติและเที่ยงตรงเป็นกลาง ไม่ยอมให้รู้เห็นและเข้าใจตามอำนาจความเหนี่ยวนำของอคติ ไม่ว่าจะเป็นอคติฝ่ายชอบหรือฝ่ายชัง มิฉะนั้น ความรู้ที่เกิดขึ้นจะไม่เป็นความรู้แท้ หากแต่เป็นความรู้ที่ถูกอำพรางไว้…” พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ22 มิถุนายน 2524
ผู้ทำความดีย่อมมีผู้ศรัทธาซึ่งย่อมจะรับเอาความคิดจิตใจของผู้ปฏิบัติดีมาน้อมนำปฏิบัติดีด้วยตนเอง ทำให้สังคมมีคนดีเพิ่มมากขึ้น “…การเสียสละทำงานทำดีเพื่อการสร้างสรรค์ ด้วยความรับผิดชอบเต็มที่นั้นช่วยให้ผู้ปฏิบัติได้รับผลดีอย่างหนึ่ง คือมีผู้ศรัทธาเชื่อถือ และนิยมยกย่องอย่างกว้างขวาง บุคคลเหล่านั้นเมื่อศรัทธาเชื่อถือในตัวผู้ปฏิบัติดีแล้วย่อมจะรับเอาความคิดจิตใจของผู้ปฏิบัติดีที่นิยมยึดมั่นในความดี เข้าไว้ด้วยแล้วน้อมนำมาปฏิบัติดีด้วยตนเองดังนี้ ก็จะมีผู้ที่ศรัทธาในความดีเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ เมื่อคนส่วนใหญ่มีศรัทธาความเชื่อมั่นในคุณความดีร่วมกันและเสมอกันแล้ว ก็จะเกิดเป็นความสามัคคีปรองดองเป็นปึกแผ่นขึ้น ความสามัคคีเป็นปึกแผ่นนี้คือกำลังอันแข็งกล้าที่สุดในแผ่นดิน…” พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย11 กรกฎาคม 2524
คุณธรรมที่ถือเป็นพื้นฐานรองรับและส่งเสริมวิชาการคือ จิตใจที่มั่นคง ไม่มีอคติความจริงใจต่อฐานะหน้าที่ของตน การรู้จักละวางและการตั้งอยู่ในความสงบ “…วิชาความรู้ที่แต่ละคนมีอยู่เป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการทำงานสร้างฐานะความเจริญมั่นคงของตนเองและบ้านเมือง แต่นอกจากนั้น บุคคลยังต้องมีคุณธรรมอีกหลายอย่างเป็นพื้นฐานรองรับและส่งเสริมวิชาการ เพื่อให้สำเร็จความมุ่งหมายโดยสมบูรณ์ คุณธรรมข้อแรก คือการระมัดระวังพิจารณาเรื่องราวและปัญหาทุกอย่างด้วยจิตใจที่มั่นคงและเป็นกลางปราศจากอคติ ซึ่งจะช่วยให้มองเห็นเหตุ เห็นผล เห็นสาระของเรื่องได้อย่างถูกต้องทำให้สามารถจำแนกความถูกผิด ดีชั่ว และปฏิบัติตนปฏิบัติงานได้ถูกถ้วนเที่ยงตรง พอเหมาะพองาม ข้อที่สองคือความจริงใจต่อฐานะหน้าที่ของตน ไม่หลอกลวงตนเอง ไม่หลอกลวงกันและกัน อันเป็นมูลเหตุสำคัญของความผิดพลาดล้มเหลวของภารกิจทั้งปวง ความจริงใจนี้ทำให้บุคคลเข้าถึงกัน เข้าถึงงาน เข้าถึงเป้าประสงค์ได้โดยตรง และช่วยให้สามารถสร้างสรรค์ความดี ความเจริญได้โดยอิสระ คล่องตัว และมีประสิทธิภาพ…ข้อที่สามได้แก่การรู้จักละ รู้จักวางสิ่งที่ได้คิดพิจารณาเห็นชัดแล้วว่าเป็นโทษผิด เป็นอันตราย เป็นความชั่วความเสื่อม เมื่อละวางสิ่งที่เป็นเหตุของความเสื่อมได้ โอกาสก็ย่อมเปิดให้สำหรับทำความเจริญแต่ฝ่ายเดียว ข้อที่สี่ ได้แก่การตั้งอยู่ในความสงบ คือ รู้จักบังคับกายและใจให้สงบนิ่งได้ แม้อยู่ในเหตุการณ์ที่อาจก่อให้เกิดความสับสนตื่นตระหนกก็ตาม ความพยายามระงับกายระงับใจมิให้ฟุ้งซ่านจะทำให้เกิดสติ ระลึกรู้ถึงเหตุถึงผลถึงข้อเท็จจริงและความถูกต้อง อันเป็นต้นทางให้สามารถคิดพิจารณาหาทางออกแห่งปัญญาได้ไม่อับจน เพราะฉะนั้น จึงสมควรที่ทุกคนจะฝึกอบรมคุณธรรมทั้งสี่ประการที่กล่าวแล้วนี้ให้สมบูรณ์พร้อม เพื่อจักได้เป็นผู้สามารถมั่นในการสร้างอนาคตอันแจ่มใสของบ้านเมืองอย่างแท้จริง…” พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย11 กรกฎาคม 2526
นักวิชาการและนักปฏิบัติการต้องมีความซื่อตรง จริงใจ ไม่ประมาท อุตสาหะพากเพียร และรู้จักปรับปรุงตัวและงานให้เหมาะสม “…ผู้ที่จะเป็นนักวิชาการและนักปฏิบัติการที่ดีดังกล่าว จำเป็นต้องฝึกฝนตนเองให้มีคุณสมบัติอย่างพอเพียงเบื้องต้น ต้องมีความซื่อตรง จริงใจ และบริสุทธิ์ใจต่องานและต่อวิชาการของตน ไม่สับปลับ มักง่าย ไม่ประมาท เมินเฉย เพราะจะเป็นเหตุทำให้เสียงานและเสียคนพร้อมกันทั้งสองอย่าง ประการที่สอง เมื่อมีความจริงใจ บริสุทธิ์ในงานแล้ว ก็ต้องเร่งตั้งใจปฏิบัติงานด้วยความหมั่นขยัน คืออุตสาหะพากเพียรสร้างสรรค์ผลงานจากพื้นฐานความเจริญที่มีอยู่แล้ว ให้งอกงาม ก้าวหน้า และมั่นคงขึ้นตามลำดับ ประการที่สาม ซึ่งเป็นประการสำคัญ จะต้องเฉลียวฉลาดในการปรับปรุงตัวปรับปรุงงานให้ทันการทันเวลา และในการประสานสามัคคีประสานประโยชน์กับผู้ร่วมงานทุกคนทุกระดับ ตลอดถึงผู้อื่น ฝ่ายอื่นที่เกี่ยวข้องถึงทั้งหมดด้วย ผลปฏิบัติงานของท่าน จึงจะสัมฤทธิ์ผลที่พึงประสงค์ ช่วยให้เกิดความเจริญมั่นคงแก่ตนเอง แก่งาน แก่ส่วนรวมและแก่ประเทศชาติได้…” พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรมหาวิทยาลัยขอนแก่น15 ธันวาคม 2526
แม่บทในการปฏิบัติหน้าที่คือ การมีความรู้ความเข้าใจอันแจ่มแจ้งในงาน การมีความตั้งใจ สุจริตใจการตรวจตราวิเคราะห์งานและความสามารถในการทำงานให้เหมาะสมกับความรู้ ความสามารถ “…ผู้ที่จะสามารถปฏิบัติงาน ปฏิบัติหน้าที่ให้ได้ผลสมบูรณ์ดังกล่าว จำเป็นต้องมีแม่บทที่ดีสำหรับยึดถือในการทำงาน แม่บทข้อแรก คือการมีความรู้ความเข้าใจอันแจ่มแจ้งในงาน เช่นเข้าใจถึงลักษณะของงาน ขอบเขตความมุ่งหมายของงาน และผลที่จะพึงเกิดพึงได้จากงานนั้นๆ ทุกแง่ทุกมุม ข้อสอง คือการมีความตั้งใจ สุจริตใจที่จะทำงานจนเต็มกำลังความรู้ความสามารถด้วยความเอาใจใส่เข้มแข็ง เสมอต้นเสมอปลายให้งานสำเร็จครบถ้วนตามเป้าหมาย ข้อสาม คือการมีความเพ่งพินิจในงาน ตรวจตราวิเคราะห์วิจารณ์การปฏิบัติดำเนินงานอย่างรอบคอบอยู่ตลอดเวลา เมื่อพบอุปสรรคและปัญหา ก็ใช้เหตุผล หลักวิชาและความฉลาดรอบรู้ เป็นเครื่องวินิจฉัยตัดสิน แล้วแก้ไขคลี่คลายให้ลุล่วงไปโดยไม่ชักช้า ข้อสี่ คือความฉลาดสามารถในการที่จะทำงานให้พอเหมาะพอดีกับความรู้ ความสามารถ พอดีกับสถานการณ์ สถานเศรษฐกิจ พอดีกับบุคคลที่แวดล้อมเกี่ยวข้องด้วยทุกๆ ฝ่าย ซึ่งเป็นแม่บทที่สำคัญมาก เพราะหากขาดไป อาจทำให้ต้องสิ้นเปลืองกำลังงาน กำลังทุนรอน กำลังความคิดสติปัญญาไปเปล่าๆ โดยไม่ได้รับผลที่พึงประสงค์…” พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตหาดใหญ่18 กันยายน 2529

Sunshine cannot bleach the snow,/ Nor time unmake what poets know

[image]Is there anything more beautiful that snow gently falling on a couple dozen of the hottest men in sports? After watching a few hours of just that in the Pens-Sabres matchup in the NHL’s Winter Classic, I would argue not.